วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การจัดการไฟล์และโปลเดอร์

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การจัดการโฟรเดอร์

การจัดการไฟล์และโปลเดอร์

การจัดการกับไฟล์และโฟลเดอร์นี้ คิดว่าส่วนใหญ่ผู้ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้งานกันมานานๆแล้วก็คงจะพอทำเป็นกันอยู่แล้วในที่นี้จะขอนำมา อธิบาย อีกครั้ง เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งคิดว่าหลาย ๆ คนอาจจะยังไม่ทราบวิธีการต่าง ๆ ในการจัดการไฟล์เหล่านี้ หรือว่าจะก็อปปี้อย่างไร จะลบอย่างไร จะเคลื่อนย้ายอย่างไร มาทำการสำรวจเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานกัน ว่ามีไฟล์หรือโฟลเดอร์อะไรอยู่บ้าง และจะจัดการย้าย ลบ หรือก็อปปี้ ข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง แต่ก่อนที่จะเข้าเรื่องของไฟล์ต่าง ๆ มาดูก่อนว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ ของเรานั้นมีอะไรบ้าง ที่ใช้สำหรับเก็บ ข้อมูล เริ่มต้นจากการกด Double Clickที่ My Computer เพื่อดูทั้งหมดโดยรวมก่อน

จากรูป จะเห็นว่าใน My Computer จะประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนี้



1. 3.5 Floppy (A:) คือ Floppy Disk Drive สำหรับใช้งานกับแผ่น Floppy Disk
2. Partition 1 (C:) คือฮาร์ดดิสก์พาร์ติชันแรก จะมีชื่อเรียกว่าเป็น Drive C:
3. Partition 2 (C:) คือฮาร์ดดิสก์พาร์ติชันที่สอง จะมีชื่อเรียกว่าเป็น Drive D:
4. (E:) คือไดรฟ์ของ ซีดีรอม นั่นเอง
5. ส่วนประกอบอื่น ๆ จะยังไม่สนใจเอาแต่เฉพาะพวกไดรฟ์ที่ใช้เก็บข้อมูลต่าง ๆ ก่อน

หากต้องการดูข้อมูลของแต่ละไดรฟ์ ว่ามีขนาดจำนวนเท่าไร ใช้งานไปแล้วเท่าไร ก็สามารถทำได้โดยเลือกที่เมนู File และ Properties เพื่อดูรายละเอียด



จากตัวอย่างตามรูป จะเห็นว่าเป็นฮาร์ดดิสก์ Drive C ขนาด 1.49GB ใช้งานไปแล้ว 1.29GB เหลือพื้นที่ว่างอยู่ 205MB มีชื่อ Volume Label เป็น "PARTITION 1" และใช้ระบบ FAT32
หากต้องการที่จะดูรายละเอียดของไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่มีอยู่ในไดรฟ์ต่าง ๆ ก็สามารถทำได้ โดยการกด Double Click เข้าไปในไดรฟ์ที่ต้องการ เช่นที่ Drive C:



จะเห็นรายละเอียดของไฟล์และโฟล์เดอร์ต่าง ๆ (ข้อมูลที่เห็นอาจจะมีรูปร่างไม่เหมือนกับตัวอย่างนี้ แต่สามารถเลือกรูปแบบ การแสดงไฟล์ ให้เป็นแบบต่าง ๆ ได้โดยการเลือกที่เมนู Views เพื่อเลือกรูปแบบต่าง ๆ ได้) ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ ไฟล์ และโฟลเดอร์ กันก่อน

ไฟล์ (File) คือส่วนที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลต่าง ๆ เป็นไฟล์ ซึ่งจะมีหลายชนิดเช่น ไฟล์เก็บตัวอักษรก็จะเป็น Text Document หรือไฟล์ของโปรแกรมก็จะเป็น Application และไฟล์อื่น ๆ อีกมากมายตามชนิดของข้อมูลนั้น ๆ จากตัวอย่างตามรูป เช่น Autoexec, Command, Frontpg.log ฯลฯ

โฟลเดอร์ (Folder) คือส่วนที่ทำการสร้างขึ้นมาพิเศษ สำหรับแยกเก็บไฟล์ต่าง ๆ เพื่อความเป็นระเบียบ โฟลเดอร์ไม่ใช่ไฟล์ แต่มองภาพง่าย ๆ คล้ายกับกล่องที่ใช้เก็บไฟล์ เพื่อให้สามารถแยกสัดส่วนการเก็บให้เป็นระเบียบได้มากขึ้น เช่นโฟลเดอร์ของ Windows ก็จะเก็บไฟล์ต่าง ๆ ที่เป็นระบบของ Windowsนอกจากนี้ภายในโฟลเดอร์ก็ยังสามารถสร้าง โฟลเดอร์ย่อย ลึกลงไปอีกหลาย ๆ ชั้นลงไปได้อีกด้วย ลองดับเบิดคลิกที่โฟลเดอร์ Program Files ดูจะเห็นลักษณะโครงสร้างด้านในของโฟลเดอร์นั้น ๆ



จะเห็นว่า ด้านในของ C:\Program Files ลึกเข้าไปก็จะประกอบด้วยโฟลเดอร์ต่าง ๆ ย่อยลงไปอีก ที่ใช้สำหรับแบ่ง การเก็บไฟล์ต่าง ๆ ให้แยกกันออกไป พอเข้าใจ อย่าลืมนึกภาพง่าย ๆ ว่าโฟลเดอร์ ก็คือกล่องต่าง ๆ สำหรับใส่ไฟล์นั่นเองจะเห็นว่า ด้านในของ C:\Program Files ลึกเข้าไปก็จะประกอบด้วยโฟลเดอร์ต่าง ๆ ย่อยลงไปอีก ที่ใช้สำหรับแบ่ง การเก็บไฟล์ต่าง ๆ ให้แยกกันออกไป พอเข้าใจ อย่าลืมนึกภาพง่าย ๆ ว่าโฟลเดอร์ ก็คือกล่องต่าง ๆ สำหรับใส่ไฟล์นั่นเอง

การสร้างโฟลเดอร์ขึ้นมาใหม่ ทำได้โดยการเลือกที่เมนู File เลือกที่ New และ Folder ซึ่งครั้งแรกจะมีการตั้งชื่อเป็น New Folder เสมอ เราสามารถทำการเปลี่ยนชื่อได้โดยการกดปุ่ม F2 บนคีย์บอร์ดและเปลี่ยนชื่อได้ตามต้องการ ส่วนการลบ ก็ทำได้โดยใช้เมาส์กดเลือกที่ Folder นั้นและเลือกที่เมนู Delete หรือกดปุ่ม DEL บนคีย์บอร์ดก็ได้ ทดลองสร้าง โฟลเดอร์ขึ้นมาใหม่ และทดลองลบกันดู เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น

การดูรายละเอียดต่าง ๆ ของไฟล์หรือโฟลเดอร์ ก็สามารถทำได้โดยการเลือกที่ไฟล์นั้น ๆ และเลือกเมนู Properties ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งจะเห็นรายละเอียดต่าง ๆ ของไฟล์หรือโฟลเดอร์นั้น ๆ



เช่นการดูรายละเอียดของ C:\Program Files จะเห็นขนาดของไฟล์ทั้งหมด จำนวนไฟล์ที่เก็บอยู่ในโฟลเดอร์นี้ นอกจากนั้นยังมีส่วนของ Attributes อีกด้วย ซึ่งมีความหมายดังนี้

Read-only คือไฟล์หรือโฟล์เดอร์ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว จะเขียนหรือลบไม่ได้
Hidden คือไฟล์หรือโฟลเดอร์ ที่มีการซ่อนไว้ โดยปกติจะมองไม่เห็น นอกจากจะกำหนดให้แสดงHidden File ด้วย
Archive คือไฟล์หรือโฟลเดอร์สำหรับแสดงว่าเป็นไฟล์ธรรมดาทั่ว ๆ ไป
System คือไฟล์หรือโฟลเดอร์ ที่แสดงว่าเป็นไฟล์ของระบบหากต้องการที่จะเปลี่ยน Attributesเหล่านี้ก็ ใช้เมาส์ กด เลือกหรือยกเลิกได้ตามต้องการ Read-only คือไฟล์หรือโฟล์เดอร์ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว จะเขียนหรือลบไม่ได้
Hidden คือไฟล์หรือโฟลเดอร์ ที่มีการซ่อนไว้ โดยปกติจะมองไม่เห็น นอกจากจะกำหนดให้แสดงHidden File ด้วย
Archive คือไฟล์หรือโฟลเดอร์สำหรับแสดงว่าเป็นไฟล์ธรรมดาทั่ว ๆ ไป
System คือไฟล์หรือโฟลเดอร์ ที่แสดงว่าเป็นไฟล์ของระบบหากต้องการที่จะเปลี่ยน Attributesเหล่านี้ก็ ใช้เมาส์ กด เลือกหรือยกเลิกได้ตามต้องการ

User Accounts

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

User Accounts

User Accounts

ตามปรกติแล้วแต่ละเครื่องจะมี Account ผู้ใช้งานประจำเครื่องอย่างน้อย 1 account เสมอครับ (เหมือนกับบน windows) ถ้าเป็นเครื่องส่วนตัวเราจะไม่ค่อยได้มาตรงส่วนนี้เท่าไหร่ ถ้าเราใช้งานคนเดียวบนเครื่อง account เราก็จะเป็นชื่อของเรา และได้สิทธิ์เป็น admin ให้จัดการทรัพยากรของเครื่องได้ทั้งหมด
แต่สำหรับเครื่องในบริษัท หรือเครื่องที่มีผู้ใช้งานหลายคนร่วมกันนั้น การสร้าง account ให้เหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละคนเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ (และควรกระทำด้วยครับ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรภายในเครื่องเราครับ
โดยเครื่องที่มีมากกว่า 1 account นั้น ปรกติค่า setting ต่าง ๆ ของแต่ละ account จะแยกจากกันได้โดยอิสระ เช่น

  • โปรแกรมต่าง ๆ
  • ขนาด font ข้อความ
  • ภาพพื้นหลัง desktop
  • รวมไปถึง setting เฉพาะกิจต่าง ๆ ตามแต่ผู้ใช้งานแต่ละคนจะเลือกตั้งเอาไว้ (พูดให้ง่ายคือ ของใครของมันครับ ไม่เกี่ยวกัน)
เครื่องที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 1 คนขึ้นไป ผู้ที่เป็นเจ้าของเครื่อง หรือ ผู้ใช้งานระดับ admin สามารถสร้าง account ใหม่ขึ้นมาให้กับผู้ใช้แต่ละคนได้ ซึ่งการทำแบบนี้มีข้อดีคือ
  1. ช่วยให้บริหาร file / folder ภายในเครื่องสะดวกขึ้น เช่น ป้องกันการเข้าถึงไฟล์ที่เจ้าของเครื่อง/admin ไม่ต้องการให้ผู้ใช้งานคนอื่นบนเครื่องเข้าถึง หรือใช้งานไฟล์นั้น ๆได้ เพราะเอกสารของแต่ละ account จะแยกจากกัน ยกเว้นบาง folder เช่น public folder / shared folder ที่จะมองเห็นร่วมกันเท่านั้น (หรือจะกำหนดสิทธิ์พิเศษให้มองเห็น folder ต่าง ๆ เป็นกรณีไปก็ทำได้)
  2. ป้องกันความเสียหายจาก user อื่นไม่ให้มาซนกับไฟล์ของ admin หรือไฟล์ของระบบ
  3. admin สามารถจำกัดสิทธิ์การใช้งานของ user อื่น ๆ บนเครื่องได้ เช่น ผู้ปกครองสามารถสร้าง account ให้บุตรหลานใช้งานบนเครื่องเดียวกัน แล้วยังกำหนดระยะเวลาให้เล่น internet ได้ถึง 4 ทุ่มของทุกวันเท่านั้น เป็นต้น
ไปที่ System Preference เลือก Accounts
001-_3.jpg
เราจะเห็นหน้าต่างแสดงรายชื่อบัญชีผู้ใช้หรือว่า Account ที่มีอยู่ในเครื่อง
002-_3.jpg
ตรงนี้จะบอกเราว่า ขณะนี้ในเครื่องของเรามี บัญชีผู้ใช้ (account) ของใครอยู่ในเครื่องบ้าง
  • My Account - คือ account ของเราเอง ดูสถานะได้จากใต้ชื่อ ใครที่มีสถานะเป็น Admin จะสามารถปรับเปลี่ยนระบบต่าง ๆ ได้
  • Other Accounts - คือ บัญชีผู้ใช้อื่น ๆ ที่ admin สามารถสร้างเพิ่ม หรือว่าลบออกจากระบบได้
ให้สังเกตว่ากุญแจที่อยู่ด้านล่างล๊อกอยู่หรือไม่ ถ้าล๊อกอยู่เราจะเข้าไปแก้ไขข้อมูลอะไรไม่ได้ ต้องปลดล๊อกก่อนเท่านั้น การปลดล๊อกทำได้ด้วยการคลิ๊กไปที่ลูกกุญแจครับ
คลิ๊กไปที่ลูกกุญแจเพื่อปลดล๊อก
003-_3.jpg
เมื่อคลิ๊กที่รูปกุญแจแล้ว ระบบจะถาม username กับ password ของเรา ให้กรอกแล้วกด OK ผ่านไปหมายเหตุ - ขึ้นตอนการเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับ system หรือว่าไฟล์ของระบบแล้วนั้นส่วนใหญ่ ถ้าเราจะทำการแก้ไข เรามักจะต้องใส่ password ก่อนเสมอ
หลังจากปลดล๊อกแล้ว ทำการเพิ่ม account โดยการกดที่เครื่องหมาย ‘+’ (บวก)
004-_3.jpg
หน้าต่างใหม่ให้กรอกรายละเอียดของ ผู้ใช้งาน/user ใหม่บนเครื่อง
006-_3.jpg
New Account: ชนิตของบัญชีผู้ใช้แบบต่าง ๆ (อธิบายจากรูปถัดไป)
Name: ชื่อประจำตัวของ account นี้ โดยทั่วไปก็เอาชื่อ/ตำแหน่งผู้ใช้งานมาใส่ .. จะเป็นอะไรก็ได้ที่ไม่ทำให้สับสนทีหลัง
Short Name: ชื่อย่อ
Password: ระหัสผ่าน
Verify: ยืนยันระหัสผ่าน
Password Hint: คำถามใบ้ แนะแนวกรณีที่เราลืม password ตั้งอะไรก็ได้ที่เกี่ยวโยงกับ password ที่เราตั้งไว้ จะกรอกตรงนี้เป็นภาษาไทยก็ได้ครับ

เรียนรู้เทคนิคการใช้งาน Windows 7 ให้ง่ายขึ้น

ในที่สุดการรอคอยก็ใกล้จะถึงจุดหมายแล้ว สำหรับ Windows 7 ที่หมายว่าจะสร้างความนิยมให้กับผู้ใช้ได้ หลังจากที่เราผิดหวังจาก Windows Vista กันมาแล้ว ซึ่ง Windows 7 นั้น นอกจากมีความสวยงามน่าใช้ไม่แตกต่างไปจาก Vista แล้ว ยังใช้งานได้ดี ไม่แพ้กับ Windows XP เลย เรียกว่าหากได้ใช้ Windows 7 แล้ว คุณจะไม่อยากกลับไปใช้ Windows XP อีกเลย
ดูจากรูปเราจะเห็นว่า Windows 7 แม้จะพัฒนาต่อยอดมาจาก Windows Vista แต่หน้าตาก็มีการปรับเปลี่ยนไปบ้างพอสมควร แม้จะใช้งานได้ไม่ยาก แต่ก็ต้องปรับตัวกันนิดหน่อยเพื่อให้สามารถใช้งาน Windows 7 ได้ง่ายขึ้น ซึ่งส่วนประกอบที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือส่วนของทาสก์บาร์ ที่ปรับปรุงให้เรียกใช้โปรแกรมได้ง่ายขึ้น มีการตัดทอนบางฟังก์ชั่นออกไป เช่น Quick Launch
WIndows7_desktop
ส่วนของซิสเท็มบาร์ที่ถูกซ่อนเอาไว้ไม่ให้แสดงผลเกะกะบนหน้าจอ รวมทั้งแถบของ Gadget ที่หายไป โดยเราสามารถเรียก Gadget ขึ้นมา และวางไว้ตรงไหนก็ได้ของหน้าจอ โดยไม่กินพื้นที่เหมือนกับ Gadget Bar ในWindows Vista อีก แน่นอนว่าเมื่อเวอร์ชันใหม่ออกมา ก็ต้องมีความสามารถใหม่ๆ ตามมาด้วย และนี่คือทิปที่จะช่วยให้คุณใช้งาน Windows? 7 ได้ง่ายและสะดวกขึ้น พร้อมกับสามารถปรับแต่งหน้าตาอินเทอร์เฟสต่างๆ ได้ตามต้องการ

สร้างแผ่นสำหรับแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์

คงบอกว่าหากวันใดวันหนึ่ง Windows ของคุณเกิดปัญหาขึ้น จะทำให้คุณต้องยุ่งยากขนาดไหน ดังนั้นเราควรที่จะสร้างหนทางสำหรับที่จะทำให้เราสามารถแก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้น โดยการสร้างแผ่นบู๊ตยามฉุกเฉินเอาไว้ก่อน โดยหลังจากที่ติดตั้ง Windows เสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น ก็ให้เราเตรียมแผ่นดิสก์เปล่าๆเอาไว้ก่อน จากนั้นคลิกที่ Start > Maintenance > Create a System Repair Disc และใส่แผ่นดิสก์เปล่าลงไป และให้ Windows 7 สร้างแผ่นบู๊ตยามฉุกเฉินเอาไว้ก่อน ทีนี้ หาก Windows มีปัญหาในการทำงานเกิดขึ้น เราก็สามารถใช้แผ่นดิสก์นี้บู๊ต เพื่อแก้ไขปัญหา
Create_emergency_Disc

เขียนแผ่นซีดีและวิดีโอจาก ISO ไฟล์ โดยไม่ต้องลงโปรแกรมเบิร์น

คุณสมบัติอย่างหนึ่งของ Windows 7 ก็คือเราสามารถสร้างเบิร์นแผ่นดีวีดีหรือซีดีได้ โดยไม่ต้องลงโปรแกรมเขียนแผ่นดิสก์ลงไปก่อน ซึ่งช่วยให้สะดวกขึ้น หากว่ามีแผ่นโปรแกรมในรูปแบบของไฟล์ ISO อยู่ในเครื่องอยู่แล้ว ก็สามารถคลิกที่ไฟล์ ISO นั้นแล้วเลือกไดรว์ที่จะเขียน พร้อมกับใส่แผ่นดิสก์เปล่าลงไป เท่านี้ Windows ก็จะพร้อมที่จะสร้างแผ่นดิสก์จาก ISO ไฟล์ได้เลย

แก้ไขปัญหาใน Windows 7 ให้รวดเร็ว

เวลาเกิดปัญหากับการใช้งาน Windows คงไม่ต้องบอกว่ามันยุ่งยากขนาดไหน เพราะเราไม่รู้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากอะไรและจะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆนั้นอย่างไรได้บ้าง แต่สำหรับ Windows 7 แล้ว มีเครื่องมือที่จะช่วยให้เราสามารถค้นหาปัญหา และแก้ไขได้ด้วยตัวเองก่อนที่จะต้องส่งให้ผู้เชี่ยวชาญต่อไป โดยเราสามารถเข้าถึงการตรวจสอบปัญหาต่างๆ ได้จากการเลือกที่ Control Panel > Troubleshoot Problems ซึ่งจะมีวิซาร์ด ช่วยในการค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้น และวิธีการแก้ไข รวมทั้งยังเป็นการเช็คอัพระบบ และกำจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับการทำงานของคุณได้
Troubles_Shooting

ซ่อนไอคอนของ Windows Live Messenger

ถ้าคุณเป็นอีกคนหนึ่ง ที่ต้องใช้ Windows Live Messenger เป็นประจำบน Windows 7 คุณจะพบว่าเมื่อเปิด Windows Live Messenger มันจะแสดงการทำงานค้างไว้บนทาสก์บาร์ให้เกะกะ ซึ่งหากคุณไม่ชอบใจ ก็สามารถซ่อนการทำงานของ Windows Live Messenger เอาไว้ได้ โดยก่อนอื่นต้องคลิกขวา เลือกที่ไอคอนของ Windows Live Messenger จากนั้นเลือกที่ Properties แล้ว กำหนดให้แอพพลิเคชั่น ทำงานในโหมดของ Windows Vista Compatibility จากนั้นก็เปิดการทำงานของ Windows Live ขึ้นมาอีกครั้ง คราวนี้โปรแกรม Messenger จะถูกซ่อนการทำงานเอาไว้ ไม่โผล่มาให้เกะกะบนทาสก์บาร์อีก

เพิ่มพื้นที่การใช้งานให้กับเดสก์ท็อป

ใน Windows 7 เราจะพบว่าทาสก์บาร์นั้นมีขนาดที่ใหญ่มาก ซึ่งอาจจะกินพื้นที่บางส่วนของเดสก์ท็อปไปอย่างมาก รวมทั้งไอคอนต่างๆ ทำให้พื้นที่สำหรับแอพพลิเคชั่นต่างๆ นั้น วางได้ไม่เยอะ ซึ่งเราสามารถที่จะปรับขนาดของไอคอนบนเดสก์ท็อปให้เล็กลงได้ โดยคลิกขวาที่ทาสก์บาร์ จากนั้นเลือกที่ Properties > Taskbar > Use small icons เพื่อที่จะให้ไอคอนบนทาสก์บาร์เล็กลง และเราก็จะได้พื้นที่ใช้งานบนเดสก์ท็อปนั้นเพิ่มขึ้น

เพิ่ม Quick Launch ให้กับทาสก์บาร์

ด้วยการมี Launch ที่สามารถเรียกโปรแกรมต่างๆ ขึ้นมาให้แล้ว ทำให้ Quick Launch เดิมที่มาพร้อมกับ Windows ก่อนหน้านี้ ถูกตัดออกไป แต่เราก็สามารถเปิดการทำงานของ Quick Launch ขึ้นมาได้ โดยให้คลิกขวาที่ทาสก์บาร์ จากนั้นเลือกที่ Toolbars/ New Tools Bar ก็จะปรากฏหน้าต่าง Folder Selection dialog ขึ้นมา ให้พิมพ์ข้อความตามนี้ลงไป %userprofile%\AppData\Roaming\Microsoft\Internet Explorer\Quick Launch แล้วคลิกที่ OK ก็จะมีแถบของ Quick Launch ปรากฏขึ้นที่ทาสก์บาร์ แต่ตอนนี้ Quick Launch จะดูเหมือนว่าไม่ปรากฏออกมาเพราะมีแถบข้อความ และคำอธิบายเต็มไปหมด ให้คลิกขวาที่ Quick Launch แล้วเอาเช็คบ็อกซ์ตรง lock the taskbar ออก แล้วคลิกขวาอีกครั้งที่ Quick Launch และให้นำเช็คสบ็อกซ์ หน้าข้อความ show Text และ Show Titles ออกไป ที่นี้เราก็สามารถลากไอคอนชอร์ตคัทของโปรแกรมต่างๆ ที่ต้องการ นำมาวางไว้ตรง Quick Launch นี้ได้ และเมื่อเป็นที่พอใจแล้ว ก็ให้คลิกขวาที่ทาสก์บาร์ พร้อมกับล็อคทาสก์บาร์เอาไว้ให้เรียบร้อย
QuickLuanch

เปลี่ยนการทำงานให้กับเพาเวอร์สวิทช์

ปกติหน้าที่ของเพาเวอร์สวิทช์ ก็คือการเปิดเครื่อง แต่ขณะที่คอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ล่ะ จะให้มันทำหน้าที่เป็นอะไร ในWindows 7 เราสามารถกำหนดการทำงานให้กับเพาเวอร์สวิทช์ได้ โดยคลิกขวาที่ไอคอน Windows มุมล่างซ้าย แล้วเลือกที่ properties จากนั้น คลิกที่แท็บ Start Menu แล้วตรง power button action ก็กำหนดหน้าที่ที่ต้องการให้กับปุ่มเพาเวอร์ได้ ทั้งการชัตดาวน์ รีสตาร์ท หรือล็อคเครื่องก็ได้เช่นกัน
Power Button Option

ควบคุมการทำงานบน Windows ด้วยปุ่ม Windows คีย์

หากคุณต้องการปรับการแสดงผลขณะทำงานบน Windows 7 เพื่อให้สะดวกขึ้น เราสามารถใช้ปุ่ม windows คีย์ เพื่อเป็นคีย์ลัดในการจัดการการแสดงผลของหน้าต่างบน Windows ได้ ไม่ว่าจะเป็นการย่อขยาย จัดการแสดงผลให้เต็มหน้าจอ หรือย่อทั้งหมดลงมา หรือเรียกการทำงานของหน้าต่างที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น ซึ่งคีย์ลัดนี้ เราสามารถทำงานกับ Windows ได้อย่างรวดเร็วขึ้น โดยสามารถแบ่งการทำงานที่ต้องใช้ร่วมกับปุ่ม Windows คีย์ได้ดังนี้
  • ปรับขนาดของหน้าต่างให้ตรงกับความต้องการ
-?? ?เราสามารถใช้ปุ่ม Windows คีย์ ร่วมกับปุ่มลูกศร เพื่อปรับขนาดของ Windows ได้ตามต้องการ เช่น
-?? ?Win + ลูกศรขึ้น และ Win+ ลูกศรลง? เป็นการขยายขนาดของหน้าต่างให้เต็มหน้าจอ และย่อขนาดกลับลงมาเท่าเดิม
-?? ?Win + ลูกศรซ้าย และ Win + ลูกศรขวา เป็นการกำหนดตำแหน่งของการแสดงผลอยู่ทางครึ่งของหน้าจอทางซ้ายมือหรือว่าขวามือ
-?? ?Win + Shift +ลูกศรขึ้น และ Win+Shift+ ลูกศรลง? เป็นการขยายขนาดของหน้าต่างให้เต็มหน้าจอทางด้านแนวตั้ง และย่อขนาดกลับลงมาเท่าเดิม
  • แสดงผลออกโปรเจ็คเตอร์

หมดปัญหากับการที่ต้องควานหาปุ่ม เพื่อเลือกการแสดง หากต้องการต่อกับโปรเจ็คเตอร์หรือมอนิเตอร์ภายนอก เพราะเพียงแค่ใช้คีย์ Win + P ก็จะเป็นการเลือกการแสดงที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงผลเฉพาะหน้าจอหลัก การแสดงผลหน้าจอทั้งสองให้เหมือนๆกัน การแสดงแบบบนจอที่สองแบบ extend และการแสดงผลเฉพาะจอที่สองเพียงอย่างเดียว
แต่หากว่าคุณต้องการแสดงผลเฉพาะพรีเซนเทชั่น เพื่อออกไปทางโปรเจ็คเตอร์ คงไม่อยากให้การแสดงผลบนหน้าจอถูกขัดจังหวะด้วยสกรีนเซฟเวอร์ หรือว่าข้อความทาง IM ที่ส่งมาให้คุณ เราสามารถใช้ปุ่ม Win+X เพื่อกำหนดการแสดงผลเฉพาะพรีเซนเทชั่นได้ เท่านี้เวลาข้อความทาง IM ส่งเข้ามาหรือว่าสกรีนเซฟเวอร์ทำงาน ก็จะไม่มีผลต่อการแสดงผลบนหน้าจอโปรเจ็คเตอร์อีก
  • ย่อหน้าต่างให้เลือกเฉพาะที่ใช้งานปัจจุบัน

เราสามารถย่อหน้าต่างอื่นๆที่ไม่ได้ใช้งาน ให้ลงไปอยู่บนทาสก์บาร์ได้ โดยกดคีย์ Win+ Home ซึ่งหน้าต่างอื่นๆที่เราไม่ได้ใช้งานอยู่ ก็จะถูกย่อลงเองโดยอัตโนมัติ และเมื่อกด Win+Home อีกครั้ง ก็จะกลับมาแสดงผลตามปกติ
  • ทำงานแบบหลายมอนิเตอร์พร้อมๆ กัน

ถ้าคุณต่อมอนิเตอร์หลายๆตัวเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ เราสามารถเคลื่อนการทำงานจากมอนิเตอร์หนึ่งไปยังอีกมอนิเตอร์หนึ่งได้ โดยกดปุ่ม Win+shift+ปุ่มลูกศรซ้าย หรือขวา เพื่อเลื่อนการทำงานไปยังมอนิเตอร์ที่ต้องการได้
  • เรียกใช้โปรแกรมบนทาสก์บาร์ด้วยคีย์ลัด

ในทาสก์บาร์ของ Windows 7 จะมีการจัดเรียงโปรแกรมเอาไว้อยู่ และเราสามารถที่จะเรียกใช้แอพพลิเคชั่นเหล่านั้นได้โดยง่าย เพียงแค่เล็งไว้ว่าแอพพลิเคชั่นนั้นๆอยู่ตำแหน่งที่เท่าไหร่ นับจากปุ่มสตาร์ทเป็นต้นมา เราสามารถเรียกแอพพลิเคชั่นได้รวดเร็วขึ้น จากการที่กดคีย์ Win+คีย์ตัวเลข ก็จะเป็นการเรียกใช้งานแอพพลิเคชั่นลำดับตัวเลขนั้นขึ้นมาทันที
  • มองทะลุเดสก์ทอป

ใน Windows 7 มีฟังก์ชั่นบางตัวที่เรียกว่า? Gadget สำหรับบอกเวลา บอกวันที่ รวมถึงดูโน้ตต่างๆได้ ซึ่งปกติหากเราต้องการดูของต่างๆ ที่อยู่บนเดสก์ท็อป เราต้องย่อหน้าต่างลงมาทั้งหมดเสียก่อน แต่หากว่าเราต้องการแค่ดูเฉยๆโดยไม่ได้ทำอะไร Windows 7 ยอมให้คุณกดปุ่ม Win+Space เพื่อมองทะลุหน้าต่างทั้งหมดที่อยู่ ให้คุณมองเห็นเดสก์ท็อปได้
desktop-aero-peek
  • ท่องไปตามทาสก์บาร์

หากต้องการเรียกแอพพลิเคชั่นที่เปิดเอาไว้บนทาสก์บาร์อย่างรวดเร็ว เราสามารถใช้คีย์ Win+T เพื่อเลือกใช้งานโปรแกรมที่อยู่บนทาสก์บาร์ได้ โดยเลือกเป็นกลุ่มของแอพพลิเคชั่น เพื่อสามารถเลือกแอพพลิเคชั่นที่ต้องการได้สะดวกกว่า
desktop-taskbar
  • ขยายการมองเห็นให้กับ Windows

หากว่าคุณเป็นคนที่สายตาไม่ดี หรือมีปัญหากับการมองบางส่วนของภาพได้ไม่ชัดเจน Windows 7 ยอมให้เราสามารถซูมภาพเข้าไปได้ เพื่อมองบางส่วนในการแสดงผลให้ชัดเจนขึ้น โดยใช้คีย์ Win++ ก็จะเป็นการใช้งานฟังก์ชั่น magnifier ในการขยายภาพทั้งหมดบนหน้าจอขึ้นมา และหากต้องการกลับสู่การแสดงผลปกติ ก็เพียงแค่ใช้คีย์ Win + -? ก็จะเป็นการย่อให้ Windows กลับมาแสดงผลเป็นปกติ เรียบร้อยเหมือนเดิม
  • เรียกใช้งาน Gadget ได้อย่างรวดเร็ว

Gadget บน Windows 7 ให้ประโยชน์ในการทำงานของเราได้อย่างมาก เช่น ปฏิทิน หรือว่านาฬิกา แต่ในขณะทำงานอยู่ มักจะไม่สะดวกที่จะต้องย่อหน้าต่างลงไป ซึ่งหากเราต้องการเรียกใช้งาน Gadget อย่างปัจจุบันทันด่วน เราสามารถเข้าถึง Gadget ได้อย่างรวดเร็วด้วยคีย์ Win+G เพื่อให้ Gadget ขึ้นมาอยู่บนท็อปของหน้าต่างการทำงานปัจจุบันได้ทันที
desktop-gadgets

ทำงานง่ายขึ้นด้วย ALT คีย์

ใน Windows 7 สามารถใช้งานคีย์ลัด เพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียกใช้งาน Windows ได้อย่างมาก และ ALT ก็คือคีย์อเนกประสงค์อีกคีย์หนึ่ง ที่สามารถนำมาใช้งานร่วมกับคีย์ต่างๆ เพื่อให้ทำงานร่วมกับ Windows ได้สะดวกขึ้น
เรียกใช้งานเมนูบาร์บน Explorer
ด้วยฟังก์ชั่นพิเศษที่ไมโครซอฟท์เห็นว่ามันอาจจะเกะกะ ก็เลยซ่อนเมนูบาร์ใน Explorer เอาไว้ซะ ทำให้การปรับแต่งการทำงานต่างๆนั้นอาจจะไม่สะดวก แต่เราสามารถเรียกเมนูบาร์ออกมาได้ง่ายๆ โดยกดปุ่ม alt หนึ่งครั้งก็จะเป็นการแสดงผลเมนูบาร์ขึ้นมา และเมนูบาร์นี้จะถูกซ่อนเอาไว้โดยอัตโนมัติ เมื่อเราไม่ได้ใช้งาน

เพิ่มขีดความสามารถในการใช้งาน Explorer

ใน Explorer ตัวล่าสุดของ Windows 7 เราสามารถใช้คีย์ลัด ALT ร่วมกับคีย์ต่างๆ เพื่อให้ใช้งาน Explorer ได้ง่ายขึ้น เช่น
เพิ่มขีดความสามารถในการใช้งาน-Explorer7
  • ALT+UP เป็นการกระโดดไปยังโฟลเดอร์แรกสุดคือ Desktop โดยอัตโนมัติ หรือย้อนกลับไปโฟลเดอร์รูท หากว่าเราทำงานอยู่ในโฟลเดอร์ย่อยๆ ของโฟลเดอร์รูทนั้น
  • ALT + Right คือการไล่สเต็ปไปยังโฟลเดอร์ ที่เปิดขึ้นมาล่าสุด
  • ALT + LEFT คือการย้อนกลับไปทำงานยังโฟลเดอร์ก่อนหน้าโฟลเดอร์ปัจจุบัน
  • ALT +D เป็นการทำงานกับแอดเดรสบาร์ของพาธ การทำงานปัจจุบัน
  • F4 เป็นการเรียกใช้งาน drop down menu ของแอดเดรสบาร์
  • ALT+ENTER เป็นการเรียก Properties ของไฟล์ที่เคอร์เซอร์กำลังถูกเลือกอยู่ในขณะนั้น
  • CTRL+mousewheel เป็นการเปลี่ยนขนาดของไอคอนใน explorer
  • F11 เป็นการเปลี่ยนโหมดของ explorerให้ทำงานในโหมด Full Screen

เรียกใช้งานแอพพลิเคชั่นในโหมดของ Windows Compatibility เพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมเก่าได้

ปัญหาใหญ่ๆของการใช้งาน Windows 7 ก็คือการทำงานร่วมกับแอพพลิเคชั่นเดิมๆ ที่เคยใช้งานได้ใน Windows XP หรือว่า Vista ซึ่งหากเราเรียกใช้งานตรงๆ อาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นได้ Windows 7 จึงมีโหมดการทำงาน Windows Compatibility เพื่อให้นำแอพพลิเคชั่นเดิมๆที่สามารถเคยใช้งานได้ใน Windows XP หรือ Vista ให้ใช้งานได้บน Windows 7 โดยการคลิกขวาที่ไอคอนของแอพพลิเคชั่นนั้นๆ จากนั้นเลือกที่ Properties แล้วไปยังแท็บ compatibility mode และเลือก Run this program in compatibility mode for ซึ่งเราสามารถเลือกได้ว่าให้แอพพลิเคชั่นตัวนั้น ทำงานในโหมดของ Windows เวอร์ชั่นไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น Windows XP หรือว่า Windows 95 ก็ยังไหว โดยในโหมด compatibility แนะนำว่าควรที่จะเลือก disable visual themes และ desktop composition เอาไว้ด้วย และหากว่าแอพพลิเคชั่นนั้นเป็นวิดีโอเกม ก็ควรที่จะเลือก Run this program as an administrator เอาไว้ด้วย เพื่อที่ Windows 7 จะไม่ตั้งคำถามสำหรับคุณอีก
Program Compatibility

ใช้งาน Sticky Notes เพื่อเตือนความจำ

แอพพลิเคชั่นหลายๆ ตัวได้ถูกเติมเต็มเข้ามาใน Windows 7 นี้ เพื่อให้การทำงานของผู้ใช้นั้นง่ายขึ้น โดยไม่ต้องไปหาโปรแกรมอื่นๆมาติดตั้งให้ยุ่งยากอีก เช่น Sticky Notes หรือ กระดาษเตือนความจำ ซึ่งให้เราสามารถโน้ตข้อความต่างๆ วางไว้บนเดสก์ท็อปได้สะดวก โดยเราสามารถเรียกใช้งาน Sticky Notes จากการพิมพ์ notes ที่ช่อง Search ก็จะเป็นการหาแอพพลิเคชั่น Sticky Note ให้เราเองโดยอัตโนมัติ และเราสามารถเปลี่ยนสีของกระดาษโน้ตได้ โดยการคลิกขวาที่ Sticky Note แล้วเลือกสีกระดาษโน้ตตามต้องการ? และหากต้องการเพิ่มกระดาษโน้ตก็สามารถคลิกที่เครื่องหมาย + บนกระดาษโน้ต และเมื่อต้องการปิดการใช้งาน Sticky Note ก็ให้กด Alt+F4 ก็จะเป็นการปิดการทำงานลง แต่จะเก็บข้อความทั้งหมดเอาไว้ ซึ่งเมื่อเปิดการทำงานขึ้นมาอีก ข้อความเดิมที่มีอยู่ก็จะปรากฏขึ้นมาเหมือนเดิม

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การจัดการข้อมูลด้วยระบบการจัดการฐานข้อมูล

 

การจัดการข้อมูลด้วยระบบการจัดการฐานข้อมูล

การจัดการข้อมูลด้วยระบบการจัดการฐานข้อมูล

การจัดการข้อมูลด้วยระบบการจัดการฐานข้อมูล
การจัดเก็บข้อมูลที่มีปริมาณมากๆ ในระบบคอมพิวเตอร์โดยการเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลแต่ละแฟ้ม อาจเกิดปัญหาข้อมูลซ้ำซ้อนกัน เมื่อมีการแก้ไขข้อมูลที่มีอยู่หลายแฟ้มข้อมูล จนทำให้ข้อมูลมีความขัดแย้งกันเอง จึงได้มีการเปลี่ยนการจัดเก็บข้อมูลให้อยู่ในรูปของฐานข้อมูลแทนเพื่อความสะดวกในการบันทึกข้อมูล แก้ไขข้อมูล และค้นหาข้อมูล

1. ความหมายของฐานข้อมูลและระบบการจัดการฐานข้อมูล
“ ฐานข้อมูล ” (database) หมายถึง การจัดรวบรวมข้อนิเทศหรือข้อมูลของเรื่องต่างๆ ไว้ในรูปแบบที่จะเรียกมาใช้ได้ทันทีเมื่อต้องการ ในการเรียกนั้น อาจเรียกเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งมาใช้ประโยชน์เป็นครั้งเป็นคราวก็ได้ ฐานข้อมูลที่ดีควรจะได้รับการปรับให้ทันสมัยอยู่เสมอ (ทักษิณา สวนานนท์, 2544, หน้า 154-155)
นอกจากนี้ กิตติ ภักดีวัฒนะกุล (2547, หน้า 226) ยังได้สรุปความหมายของฐานข้อมูล ว่าคือ กลุ่มของแฟ้มข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันและถูกนำมารวมกัน เช่น ฐานข้อมูลในบริษัทแห่งหนึ่งอาจประกอบไปด้วยแฟ้มข้อมูลหลายแฟ้มข้อมูล ซึ่งแต่ละแฟ้มต่างก็มีความสัมพันธ์กัน ได้แก่ แฟ้มข้อมูลพนักงาน แฟ้มข้อมูลแผนกในบริษัท แฟ้มข้อมูลขายสินค้า และแฟ้มข้อมูลสินค้า เป็นต้น
สรุปได้ว่า “ฐานข้อมูล” คือ การรวบรวมข้อมูลที่เราต้องการจะจัดเก็บ ซึ่งต้องมีความสัมพันธ์กันหรือเป็นเรื่องเดียวกันไว้ด้วยกัน เพื่อสะดวกในใช้งาน
“ระบบการจัดการฐานข้อมูล” (Data Base Management System: DBMS) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อจะได้นำไปเก็บรักษา เรียกใช้หรือนำมาปรับปรุงให้ทันสมัยได้ง่าย ทั้งนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญด้วย (ทักษิณา สวนานนท์ , 2544, หน้า 155)
นอกจากนี้ โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์ (2546, หน้า 29) ยังได้สรุปความหมายของระบบการจัดการฐานข้อมูล ว่าคือ โปรแกรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการฐานข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยหน้าที่ต่างๆ ในการจัดการกับข้อมูล รวมทั้งภาษาที่ใช้ทำงานกับข้อมูล โดยมักจะใช้ภาษา SQL ในการโต้ตอบระหว่างกันกับผู้ใช้ เพื่อให้สามารถกำหนดการสร้าง การเรียกดู การบำรุงรักษาฐานข้อมูล รวมทั้งการจัดการควบคุมการเข้าถึงฐานข้อมูล ซึ่งถือเป็นการป้องกันความปลอดภัยในฐานข้อมูล เพื่อป้องกันมิให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิการใช้งานเข้ามาละเมิดข้อมูลในฐานข้อมูลที่เป็นศูนย์กลางได้ นอกจากนี้ DBMS ยังมีหน้าที่ในการรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยของข้อมูล การสำรองข้อมูล และการเรียกคืนข้อมูลในกรณีที่ข้อมูลเกิดความเสียหาย
สรุปได้ว่า “ระบบการจัดการฐานข้อมูล” คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการกำหนดลักษณะข้อมูลที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูล อำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล กำหนดผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูลได้ พร้อมกับกำหนดด้วยว่าให้ใช้ได้แบบใด เช่น ให้อ่านข้อมูลได้อย่างเดียวหรือให้แก้ไขข้อมูลได้ด้วย นอกจากนั้นยังอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูล และการแก้ไขปรับปรุงข้อมูล ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย สะดวกและมีประสิทธิภาพ เสมือนเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูลให้สามารถติดต่อกันได้

2. ประวัติความเป็นมาของระบบการจัดการฐานข้อมูล
การจัดการฐานข้อมูลเริ่มต้นจากการที่องค์การบริหารการบินและอวกาศสหรัฐอเมริกา หรือนาซาได้ว่าจ้างบริษัทไอบีเอ็ม (IBM) ประเทศสหรัฐอเมริกา ให้ออกแบบระบบเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสำรวจดวงจันทร์ในโครงการอะพอลโล (โครงการอะพอลโลเป็นโครงการสำรวจอวกาศอย่างจริงจัง และมีการส่งมนุษย์ขึ้นบนดวงจันทร์ได้สำเร็จด้วยยานอะพอลโล 11) ได้พัฒนาระบบการดูแลข้อมูลเรียกว่า ระบบ GUAM ( Generalized Upgrade Access Method) ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดของระบบการจัดการฐานข้อมูล
ต่อมาบริษัท ไอบีเอ็ม ได้พัฒนาระบบการจัดการฐานข้อมูลขึ้นมาใหม่เพื่อให้ใช้งานกับธุรกิจทั่วๆ ไปได้ เรียกว่า DL/I (Data Language/I ) จนในที่สุดก็ได้กลายมาเป็นระบบ IMS ( Information Management System)
ในช่วงปี พ.ศ. 2525 มีการนำระบบฐานข้อมูลเข้ามาใช้กับคอมพิวเตอร์อย่างเต็มที่  ได้มีการคิดค้นและผลิตซอฟต์แวร์เกี่ยวกับฐานข้อมูลออกมามากมาย การเจริญเติบโตของการจัดการฐานข้อมูลรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วพร้อมกับระบบคอมพิวเตอร์และมีการพัฒนามาจนถึงทุกวันนี้
ปัจจุบันได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเก็บข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทั่วไปโดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องเขียนโปรแกรมเอง เพียงแต่เรียนรู้คำสั่งการเรียกใช้ข้อมูลหรือการจัดการข้อมูล เช่น การป้อนข้อมูล การบันทึกข้อมูล การแก้ไขและเปลี่ยนแปลงข้อมูล เป็นต้น
ในอดีตยุคที่มีไมโครคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นแรกๆ โปรแกรมสำเร็จรูปทางด้านการจัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ Personal Filling System) ต่อมาได้มีโปรแกรมฐานข้อมูลเพิ่มขึ้นหลายโปรแกรม เช่น Datastar DB Master และ dBASE II เป็นต้นโดยเฉพาะโปรแกรม dBASE II ได้รับความนิยมมาก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2528 ผู้ผลิตได้สร้าง dBASE III Plus ออกมาซึ่งสามารถจัดการฐานข้อมูลแบบสัมพันธ์ (relational) เชื่อมโยงแฟ้มข้อมูลต่างๆ เข้าด้วยกัน ค้นหา และนำมาสร้างเป็นรายงานตามความต้องการได้สะดวก รวดเร็ว ต่อมาได้มีการสร้าง โปรแกรมสำเร็จรูปเกี่ยวกับฐานข้อมูลออกมา เช่น FoxBASE, FoxPro, Microsoft Access และ Oracle เป็นต้น

3. องค์ประกอบของระบบการจัดการฐานข้อมูล
ระบบการจัดการฐานข้อมูลประกอบด้วยส่วนสำคัญหลักๆ 5 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล กระบวนการทำงาน  และบุคลากร ดังรายละเอียดต่อไปนี้
3.1 ฮาร์ดแวร์ (hardware) หมายถึง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูลและประมวลผลข้อมูล ซึ่งอาจประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่หนึ่งเครื่องขึ้นไป หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง หน่วยนำเข้าข้อมูล และหน่วยแสดงผลข้อมูล นอกจากนี้ยังต้องมีอุปกรณ์การสื่อสารเพื่อเชื่อมโยงอุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ เป็นต้น โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับประมวลผลข้อมูลในฐานข้อมูลนั้น สามารถเป็นได้ตั้งแต่เครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ หรือไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าเป็นเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์หรือมินิคอมพิวเตอร์ จะสามารถใช้ต่อกับเทอร์มินัลหลายเครื่อง เพื่อให้ผู้ใช้งานฐานข้อมูลหลายคน สามารถดึงข้อมูลหรือปรับปรุงข้อมูลภายในฐานข้อมูลเดียวกันพร้อมกันได้ ซึ่งเป็นลักษณะของการทำงานแบบมัลติยูสเซอร์ (multi user)
ส่วนการประมวลผลฐานข้อมูลในเครื่องระดับไมโครคอมพิวเตอร์ สามารถทำการประมวลผลได้ 2 แบบ แบบแรกเป็นการประมวลผลฐานข้อมูลในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว โดยมีผู้ใช้งานได้เพียงคนเดียวเท่านั้น (single user) ที่สามารถดึงข้อมูลหรือปรับปรุงข้อมูลภายในฐานข้อมูลได้ สำหรับแบบที่สองจะเป็นการนำไมโครคอมพิวเตอร์หลายตัวมาเชื่อมต่อกันในลักษณะของเครือข่ายระยะใกล้ (Local Area Network : LAN) ซึ่งเป็นรูปแบบของระบบเครือข่ายแบบลูกข่าย / แม่ข่าย (client / server network) โดยจะมีการเก็บฐานข้อมูลอยู่ที่เครื่องแม่ข่าย (server) การประมวลผลต่างๆ จะกระทำที่เครื่องแม่ข่าย สำหรับเครื่องลูกข่าย (client) จะมีหน้าที่ดึงข้อมูลหรือส่งข้อมูลเข้ามาปรับปรุงในเครื่องแม่ข่าย หรือคอยรับผลลัพธ์จากการประมวลผลของเครื่องแม่ข่าย ดังนั้นการประมวลผลแบบนี้จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานหลายคนสามารถใช้งานฐานข้อมูลร่วมกันได้
ระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพดีต้องอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง คือสามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากและประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับการทำงานจากผู้ใช้หลายคน ที่อาจมีการอ่านข้อมูลหรือปรับปรุงข้อมูลพร้อมกันในเวลาเดียวกันได้

3.2 ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึง โปรแกรมที่ใช้ในระบบการจัดการฐานข้อมูล ซึ่งมีการพัฒนาเพื่อใช้งานได้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จนถึงเครื่องเมนเฟรม ซึ่งโปรแกรมแต่ละตัวจะมีคุณสมบัติการทำงานที่แตกต่างกัน ดังนั้นในการพิจารณาเลือกใช้โปรแกรม จะต้องพิจารณาจากคุณสมบัติของโปรแกรมแต่ละตัวว่ามีความสามารถทำงานในสิ่งที่เราต้องการได้หรือไม่ อีกทั้งเรื่องราคาก็เป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากราคาของโปรแกรมแต่ละตัวจะไม่เท่ากัน โปรแกรมที่มีความสามารถสูงก็จะมีราคาแพงมากขึ้น นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาว่าสามารถใช้ร่วมกับฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่เรามีอยู่ได้หรือไม่ ซึ่งโปรแกรมที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูล ได้แก่ Microsoft Access, Oracle, Informix, dBase, FoxPro, และ Paradox เป็นต้น โดยโปรแกรมที่เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นฝึกหัดสร้างฐานข้อมูล คือ Microsoft Access เนื่องจากเป็นโปรแกรมใน Microsoft Office ตัวหนึ่ง ซึ่งจะมีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว และการใช้งานก็ไม่ยากจนเกินไป แต่ผู้ใช้งานต้องมีพื้นฐานในการออกแบบฐานข้อมูลมาก่อน
3.3 ข้อมูล (data) ระบบการจัดการฐานข้อมูลที่ดีและมีประสิทธิภาพ ควรประกอบด้วยข้อมูลที่มีคุณสมบัติขั้นพื้นฐานดังนี้
3.3.1 มีความถูกต้อง หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้จะทำให้เกิดผลเสียอย่างมาก ผู้ใช้จะไม่กล้าอ้างอิงหรือนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นสาเหตุให้การตัดสินใจของผู้บริหารขาดความแม่นยำ และอาจมีโอกาสผิดพลาดได้ โครงสร้างข้อมูลที่ออกแบบต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ได้ความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด โดยปกติความผิดพลาดของสารสนเทศส่วนใหญ่ มาจากข้อมูลที่ไม่มีความถูกต้องซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากคนหรือเครื่องจักร การออกแบบระบบการจัดการฐานข้อมูลจึงต้องคำนึงถึงในเรื่องนี้ด้วย
3.3.2 มีความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้มีการตอบสนองต่อผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว ตีความหมายสารสนเทศได้ทันต่อเหตุการณ์หรือความต้องการ มีการออกแบบระบบการเรียกค้น และแสดงผลได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้
3.3.3 มีความสมบูรณ์ของข้อมูล ซึ่งขึ้นอยู่กับการรวบรวมข้อมูลและวิธีการปฎิบัติด้วย ในการดำเนินการจัดทำข้อมูลต้องสำรวจและสอบถามความต้องการข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์และเหมาะสม
3.3.4 มีความชัดเจนและกะทัดรัด การจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมาก จึงจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้กะทัดรัดสื่อความหมายได้ มีการใช้รหัสหรือย่อข้อมูลให้เหมาะสมเพื่อที่จะจัดเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์
3.3.5 มีความสอดคล้องกับความต้องการ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาความต้องการของหน่วยงานและองค์กร ดูสภาพการใช้ข้อมูล ความลึกหรือความกว้างของขอบเขตของข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการ
3.4 กระบวนการทำงาน (procedures) หมายถึง ขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ เช่น คู่มือการใช้งานระบบการจัดการฐานข้อมูล ตั้งแต่การเปิดโปรแกรมขึ้นมาใช้งาน การนำเข้าข้อมูล การแก้ไขปรับปรุงข้อมูล การค้นหาข้อมูล และการแสดงผลการค้นหา เป็นต้น
3.5 บุคลากร (people) จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับระบบอยู่ตลอดเวลา ซึ่งบุคลากรที่ทำหน้าที่ในการจัดการฐานข้อมูล มีดังต่อไปนี้
3.5.1 ผู้บริหารข้อมูล (data administrators) ทำหน้าที่ในการกำหนดความต้องการในการใช้ข้อมูลข่าวสารขององค์กร การประมาณขนาดและอัตราการขยายตัวของข้อมูลในองค์กร ตลอดจนทำการจัดการดูแลพจนานุกรมข้อมูล เป็นต้น
3.5.2 ผู้บริหารฐานข้อมูล (database administrators) ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการ ควบคุม กำหนดนโยบาย มาตรการ และมาตรฐานของระบบฐานข้อมูลทั้งหมดภายในองค์กร ตัวอย่างเช่น กำหนดรายละเอียดและวิธีการจัดเก็บข้อมูล กำหนดควบคุมการใช้งานฐานข้อมูล กำหนดระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล กำหนดระบบสำรองข้อมูล และกำหนดระบบการกู้คืนข้อมูล เป็นต้น ตลอดจนทำหน้าที่ประสานงานกับผู้ใช้ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เพื่อให้การบริหารระบบฐานข้อมูลสามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.5.3 นักวิเคราะห์ระบบ (systems analysts) มีหน้าที่ศึกษาและทำความเข้าใจในระบบงานขององค์กร ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบงานเดิม และความต้องการของระบบใหม่ที่จะทำการพัฒนาขึ้นมา รวมทั้งต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการทำงานโดยรวมของทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อีกด้วย
3.5.4 นักออกแบบฐานข้อมูล (database designers) ทำหน้าที่นำผลการวิเคราะห์ ซึ่งได้แก่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานในปัจจุบัน และความต้องการที่อยากจะให้มีในระบบใหม่ มาออกแบบฐานข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
3.5.5 นักเขียนโปรแกรม (programmers) มีหน้าที่รับผิดชอบในการเขียนโปรแกรมประยุกต์เพื่อการใช้งานในลักษณะต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น การเก็บบันทึกข้อมูล และการเรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูล เป็นต้น
3.5.6 ผู้ใช้ (end-users) เป็นบุคคลที่ใช้ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูล ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของระบบฐานข้อมูล คือ ตอบสนองความต้องการในการใช้งานของผู้ใช้ ดังนั้นในการออกแบบระบบฐานข้อมูลจึงจำเป็นต้องมีผู้ใช้เข้าร่วมอยู่ในกลุ่มบุคลากรที่ทำหน้าที่ออกแบบฐานข้อมูลด้วย
ภาพที่ 1.2 แสดงองค์ประกอบของระบบการจัดการฐานข้อมูล
ที่มา : Rob, Peter and Coronel, Carlos, 2002, p.19.

4. หน้าที่ของระบบการจัดการฐานข้อมูล
ระบบการจัดการฐานข้อมูลมีหน้าที่สำคัญๆ หลายอย่าง เพื่อให้เกิดความถูกต้องและสอดคล้องกันของข้อมูลภายในฐานข้อมูล ได้แก่
4.1 การจัดการพจนานุกรมข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะทำการจัดเก็บนิยามของข้อมูล และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลไว้ในพจนานุกรมข้อมูล เป็นสารนิเทศที่บอกเกี่ยวกับโครงสร้างของฐานข้อมูล โปรแกรมประยุกต์ทั้งหมดที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูลจะต้องทำงานผ่านระบบการจัดการฐานข้อมูล โดยที่ระบบจัดการฐานข้อมูลจะใช้พจนานุกรมข้อมูล เพื่อค้นหาโครงสร้างตลอดจนส่วนประกอบของข้อมูลและความสัมพันธ์ที่ต้องการ นอกจากนั้นแล้วการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่มีต่อโครงสร้างฐานข้อมูลจะถูกบันทึกไว้โดยอัตโนมัติในพจนานุกรมข้อมูล ทำให้เราไม่ต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขโปรแกรมเมื่อโครงสร้างข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลง
4.2 การจัดเก็บข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะสร้างโครงสร้างที่จำเป็นต่อการจัดเก็บข้อมูล ช่วยลดความยุ่งยากในการนิยามและการเขียนโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติทางกายภาพของข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลในปัจจุบันไม่เพียงแต่จะช่วยในการจัดเก็บข้อมูลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการจัดเก็บกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ในการตรวจสอบบูรณภาพของข้อมูลอีกด้วย
4.3 การแปลงและนำเสนอข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะทำหน้าที่ในการแปลงข้อมูลที่ได้รับเข้ามา เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างในการจัดเก็บข้อมูล ทำให้เราไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างรูปแบบของข้อมูลทางตรรกะและทางกายภาพ กล่าวคือทำให้มีความเป็นอิสระของข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะแปลงความต้องการเชิงตรรกะของผู้ใช้ ให้เป็นคำสั่งที่สามารถดึงข้อมูลทางกายภาพที่ต้องการ
4.4 การจัดการระบบความปลอดภัยของข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะสร้างระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยการกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าใช้ระบบ และความสามารถในการใช้ระบบ เช่น การอ่าน เพิ่ม ลบ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล การจัดการระบบความปลอดภัยของข้อมูลมีความสำคัญมากในระบบฐานข้อมูลแบบที่มีผู้ใช้หลายคน
4.5 การควบคุมการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้หลายคน ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะใช้หลักการออกแบบโปรแกรมที่เหมาะสม เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้หลายคนสามารถเข้าใช้ฐานข้อมูลพร้อมกันได้ และข้อมูลมีความถูกต้อง
4.6 การเก็บสำรองและกู้คืนข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะมีโปรแกรมเพื่อสนับสนุนการสำรองและกู้คืนข้อมูล เพื่อให้แน่ใจด้านความปลอดภัยและความมั่นคงของข้อมูลในระบบ ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะกู้ข้อมูลในฐานข้อมูลคืนมาหลังจากระบบเกิดความล้มเหลว เช่น เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้าขัดข้อง เป็นต้น
4.7 การควบคุมความถูกต้องของข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะสนับสนุนและควบคุมความถูกต้องของข้อมูล ตั้งแต่ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล ไปจนถึงความไม่สอดคล้องกันของข้อมูล ความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เก็บไว้ในพจนานุกรมข้อมูลจะถูกนำมาใช้ในการควบคุมความถูกต้องของข้อมูลด้วย
4.8 ภาษาที่ใช้ในการเข้าถึงฐานข้อมูลและการเชื่อมต่อกับโปรแกรมประยุกต์ ระบบการจัดการฐานข้อมูลสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลโดยผ่านภาษาคิวรี (query language) ซึ่งเป็นคำสั่งที่ใช้ในการค้นคืนข้อมูลจากฐานข้อมูล โดยผู้ใช้เพียงบอกว่าต้องการอะไร และไม่จำเป็นต้องรู้ว่ามีขั้นตอนอย่างไรในการนำข้อมูลออกมา เพราะระบบการจัดการฐานข้อมูลจะเป็นผู้กำหนดวิธีการในการเข้าถึงข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพเอง
4.9 การติดต่อสื่อสารกับฐานข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลที่ทันสมัยจะต้องสนับสนุนการใช้งานฐานข้อมูลผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
5. ข้อดีของการใช้ฐานข้อมูล
เมื่อมีการนำระบบการจัดการฐานข้อมูลมาใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูล แก้ไขปรับปรุงข้อมูล ค้นหาข้อมูล รวมทั้งกำหนดผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูล เป็นต้น ทำให้ฐานข้อมูลมีข้อดีมากมาย ได้แก่
5.1 ลดความจำเจของงานดูแลเอกสาร ซึ่งเป็นงานประจำที่ทำให้ผู้ดูแลรู้สึกเบื่อหน่าย และขาดแรงจูงใจ แต่เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานนี้แทนมนุษย์ได้ โดยผ่านโปรแกรมสำหรับการจัดการฐานข้อมูล
5.2 ข้อมูลที่จัดเก็บมีความทันสมัย เมื่อข้อมูลในระบบฐานข้อมูลได้รับการดูแลปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ข้อมูลที่จัดเก็บเป็นข้อมูลที่มีความทันสมัย ตรงกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน และตรงกับความต้องการอยู่เสมอ
5.3 ลดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บข้อมูล เนื่องจากการจัดทำฐานข้อมูลจะมีการรวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆ เข้ามาจัดเก็บไว้ในระบบและเก็บข้อมูลเพียงชุดเดียว ซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะสามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้  เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ และทำให้เกิดความรวดเร็วในการค้นหาและจัดเก็บข้อมูลด้วย
5.4 หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลได้ เมื่อข้อมูลถูกจัดเก็บในระบบฐานข้อมูล จะทำให้ข้อมูลลดความซ้ำซ้อนลง คือ มีข้อมูลแต่ละประเภทเพียงหนึ่งชุดในระบบ ทำให้ข้อมูลที่เก็บได้ไม่ขัดแย้งกันเอง ในกรณีที่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกัน เพื่อสาเหตุบางประการ เช่น เพื่อความรวดเร็วในการประมวลผลข้อมูล ระบบจัดการฐานข้อมูลจะเป็นผู้ดูแลข้อมูลที่ซ้ำกันให้มีความถูกต้องตรงกัน
5.5 ใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เนื่องจากระบบการจัดการฐานข้อมูลสามารถจัดให้ผู้ใช้แต่ละคนเข้าใช้ข้อมูลในแฟ้มที่มีข้อมูลเดียวกันได้ในเวลาเดียวกัน เช่น ฝ่ายบุคคลและฝ่ายการเงิน สามารถที่จะใช้ข้อมูลจากแฟ้มประวัติพนักงานในระบบฐานข้อมูลได้พร้อมกัน
5.6 ควบคุมมาตรฐานของข้อมูลได้ เมื่อข้อมูลต่างๆ ในหน่วยงานถูกรวบรวมเข้ามา ผู้บริหารระบบฐานข้อมูลสามารถที่จะวางมาตรฐานในการรับข้อมูล แสดงผลข้อมูล ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลได้ เช่น การกำหนดรูปแบบของตัวเลขให้มีทศนิยม 2 ตำแหน่งสำหรับค่าที่เป็นตัวเงิน การกำหนดรูปแบบของการรับ และแสดงผลสำหรับข้อมูลที่เป็นวันที่ นอกจากนี้การที่ข้อมูลมีมาตรฐานเดียวกัน ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบได้อย่างสะดวก
5.7 จัดทำระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้ ผู้บริหารระบบฐานข้อมูลสามารถกำหนดรหัสผ่านเข้าใช้งานข้อมูลของผู้ใช้แต่ละราย โดยระบบการจัดการฐานข้อมูลจะทำการตรวจสอบสิทธิ์ในการทำงานกับข้อมูลทุกครั้ง เช่น การตรวจสอบสิทธิ์ในการเรียกดูข้อมูล   การลบข้อมูล  การปรับปรุงข้อมูล   และการเพิ่มข้อมูลในแต่ละแฟ้มข้อมูล
5.8 ควบคุมความถูกต้องของข้อมูลได้   ปัญหาเรื่องความขัดแย้งกันของข้อมูลที่มีความซับซ้อน เป็นปัญหาหนึ่งในเรื่องความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งเมื่อได้มีการกำจัดความซับซ้อนของข้อมูลออก ปัญหาเรื่องความถูกต้องของข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น อายุโดยปกติของคนงาน ควรอยู่ระหว่าง 18 – 60 ปี ถ้าหากในระบบฐานข้อมูล ปรากฏมีพนักงานที่มีอายุ 150 ปีซึ่งเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติที่หน่วยงานจะมีการว่าจ้างคนงานที่มีอายุเกิน 60 ปี และอายุของคนในปัจจุบันไม่ควรเกิน 100 ปี ผู้บริหารระบบฐานข้อมูลสามารถกำหนดกฎเกณฑ์ในการนำเข้าข้อมูล และระบบจัดการฐานข้อมูลจะคอยควบคุมให้มีการนำเข้าข้อมูล เป็นไปตามกฎเกณฑ์ให้มีความถูกต้อง

6. ข้อเสียของการใช้ฐานข้อมูล
แม้ว่าการประมวลผลข้อมูลด้วยระบบการจัดการจัดการฐานข้อมูล จะมีข้อดีหลายประการ แต่ก็จะมีข้อเสียอยู่บ้างดังต่อไปนี้
6.1 เสียค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากราคาของโปรแกรมที่ใช้ในระบบการจัดการฐานข้อมูลจะมีราคาค่อนข้างแพง รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง คือ ต้องมีความเร็วสูง มีขนาดหน่วยความจำและหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่มีความจุมาก ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการจัดทำระบบการจัดการฐานข้อมูล
6.2 เกิดการสูญเสียข้อมูลได้ เนื่องจากข้อมูลต่างๆ ภายในฐานข้อมูลจะถูกจัดเก็บอยู่ในที่เดียวกัน ดังนั้นถ้าที่เก็บข้อมูลเกิดมีปัญหา อาจทำให้ต้องสูญเสียข้อมูลทั้งหมดในฐานข้อมูลได้ ดังนั้นการจัดทำฐานข้อมูลที่ดีจึงต้องมีการสำรองข้อมูลไว้เสมอ

สรุปท้ายบท
การจัดเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลมีข้อดีมากกว่าการแยกเก็บข้อมูลไว้ในแฟ้มข้อมูลแต่ละแฟ้ม เพราะเมื่อข้อมูลมีปริมาณมากๆ ถ้าเก็บข้อมูลไว้ในแฟ้มข้อมูลอาจจะทำให้เกิดความซับซ้อนกันของข้อมูลเมื่อมีการแก้ไขข้อมูลที่มีอยู่หลายแฟ้มไม่ครบ จนทำให้ข้อมูลมีความขัดแย้งกันเอง แต่ถ้าเก็บข้อมูลไว้ในระบบการจัดการฐานข้อมูล ซึ่งมีการจัดเก็บข้อมูลเพียงชุดเดียว จะทำให้ลดความซ้ำซ้อนและความแตกต่างของข้อมูลได้ จึงทำให้ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลและเกิดความรวดเร็วในการค้นหาข้อมูลด้วย ซึ่งโปรแกรมที่ได้รับความนิยมในการจัดการฐานข้อมูล ได้แก่ Microsoft Access, Oracle, Informix, dBase, FoxPro, และ Paradox เป็นต้น โดยมีการจำลองฐานข้อมูลเป็นแบบต่างๆ ได้แก่ แบบลำดับชั้น แบบเครือข่าย เชิงสัมพันธ์ เชิงวัตถุ และเชิงวัตถุ - สัมพันธ์ ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนของข้อมูลและความสลับซับซ้อนของการจัดเก็บข้อมูล ในเอกสารประกอบการสอนนี้จะเน้นแบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เพราะเป็นแนวคิดพื้นฐานในการฝึกการออกแบบฐานข้อมูลเบื้องต้นได้

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การใช้งาน windows XP

การใช้งาน windows XP

การใช้งาน Remote Desktop บน Windows XP จะมี 2 องค์ประกอบด้วยกัน คือ Remote Desktop Server และ Remote Desktop Client

1. Remote Desktop Server ซึ่งจะรันอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows XP หรือ Windows Server 2003
การใช้งาน Remote Desktop Server บน Windows XP กับบน Windows Server 2003 นั้นจะมีข้อแตกต่างจากเล็กน้อย คือ บน Windows XP นั้นจะสามารถให้บริการแก่ Remote Desktop Client ได้เพียง 1 ยูสเซอร์ และเมื่อมีการใช้งาน Remote Desktop นั้น ยูสเซอร์ที่ใช้งานหน้าเครื่อง (Local logged on user) จะไม่สามารถใช้งานได้ แต่ใน Windows Server 2003 นั้น จะสามารถให้บริการแก่ Remote Desktop Client ได้ 2 ยูสเซอร์ พร้อมกัน (2 Concurrent Connection) โดยเมื่อมีการใช้งาน Remote Desktop นั้น ยูสเซอร์ที่ใช้งานหน้าเครื่อง (Local logged on user) จะสามารถใช้งานได้ตามปกติ

2. Remote Desktop Client ซึ่งจะรันอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นผู้ขอใช้บริการ ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows XP หรือ Windows Server 2003 ก็ได้

Remote Desktop Server
Remote Desktop นั้นมีประโยชน์มากในการบริหารจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์จากระยะไกล การทำงานนั้นจะใช้โปรโตคอล Remote Desktop Protocol (RDP) และใช้พอร์ทหมายเลข 3389 การใช้งานนั้นต้องรู้หมายเลขไอพี (IP address)
หรือ ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer name) และต้องใช้ยูสเซอร์ (User) และ รหัสผ่าน (Password) ในการตรวจสอบสิทธิ์การใช้งาน

การเปิดใช้งาน Remote Desktop Server บน Windows XP นั้นมีขั้นตอนดังนี้
1. เปิด System Properties โดยการคลิกขวาที่ My Computer บนเดสก์ท็อปแล้วเลือก Properties หรือ ดับเบิลคลิกที่ System ใน Control Panel

2. คลิกเลือกแท็ป Remote จากนั้นในส่วน Remote Desktop ให้ทำการคลิกเลือก check box หน้า Allow users to connect remotely to this computer ดังรูปที่ 1


รูปที่ 1. Remote Desktop Properties

3. จากนั้นคลิกปุ่ม Select Remote Users
4. ในหน้าต่าง Remote Desktop Users ให้คลิกปุ่ม Add
5. ในหน้าต่าง Select Users ใส่ยูสเซอร์ที่ต้องการให้ใช้งาน Remote Desktop เสร็จแล้วกด OK
6. หากต้องการเพิ่มยูสเซอร์อีก ให้ทำตามขั้นตอนที่ 4-5 หากไม่ต้องการ ให้คลิกปุ่ม OK เพื่อกลับไปยังแท็ป Remote แล้วคลิกปุ่ม Apply เพื่อให้การตั้งค่ามีผล หรือ คลิกปุ่ม OK เพื่อจบการทำงาน

Remote Desktop Client
การ เชื่อมต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็น Remote Desktop Server นั้น ทำได้โดยการใช้โปรแกรม Remote Desktop Client (RDC) ซึ่งมีมาพร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows XP โดยมีวิธีการใช้งานดังนี้

1. เรียกใช้งาน RDC จาก All Programs>Accessories>Communications>Remote Desktop Connection
2. ในหน้าต่าง Remote Desktop Connection ให้เลือกข้อใดข้อหนึ่งจากด้านล่าง

#2.1 ไม่แสดง Options ของ RDC ดังรูปที่ 2
2.1.1 ให้ใส่หมายเลข IP Address หรือ ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เสร็จแล้วกดปุ่ม Connect


รูปที่ 2. Remote Desktop Client

2.2.2 ในหน้าต่าง Log On to Windows ดังรูปที่ 3 ให้ใส่ Username และ Password เสร็จแล้วกด OK เพื่อทำการ Logon


รูปที่ 3. Log On to

#2.2 แสดง Options ของ RDC ดังรูปที่ 4
2.2.1 ให้ใส่หมายเลข IP Address หรือ ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นใส่ Username และ Password เสร็จแล้วกดปุ่ม Connect


รูปที่ 4. Remote Desktop Client


3. เมื่อทำการ Logon เสร็จแล้ว ก็สามารถทำงานต่างๆ เหมือนกับการนั่งทำงานอยู่หน้าเครื่องทุกประการ (เมื่อใช้งานแล้วเสร็จนั้นให้ทำการ Logoff หรือ Disconnect ทุกครั้ง)

การใช้งาน Windows 7

การใช้งาน Windows 7

ในที่สุดการรอคอยก็ใกล้จะถึงจุดหมายแล้ว สำหรับ Windows 7 ที่หมายว่าจะสร้างความนิยมให้กับผู้ใช้ได้ หลังจากที่เราผิดหวังจาก Windows Vista กันมาแล้ว ซึ่ง Windows 7 นั้น นอกจากมีความสวยงามน่าใช้ไม่แตกต่างไปจาก Vista แล้ว ยังใช้งานได้ดี ไม่แพ้กับ Windows XP เลย เรียกว่าหากได้ใช้ Windows 7 แล้ว คุณจะไม่อยากกลับไปใช้ Windows XP อีกเลย
ดูจากรูปเราจะเห็นว่า Windows 7 แม้จะพัฒนาต่อยอดมาจาก Windows Vista แต่หน้าตาก็มีการปรับเปลี่ยนไปบ้างพอสมควร แม้จะใช้งานได้ไม่ยาก แต่ก็ต้องปรับตัวกันนิดหน่อยเพื่อให้สามารถใช้งาน Windows 7 ได้ง่ายขึ้น ซึ่งส่วนประกอบที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือส่วนของทาสก์บาร์ ที่ปรับปรุงให้เรียกใช้โปรแกรมได้ง่ายขึ้น มีการตัดทอนบางฟังก์ชั่นออกไป เช่น Quick Launch
WIndows7_desktop
ส่วนของซิสเท็มบาร์ที่ถูกซ่อนเอาไว้ไม่ให้แสดงผลเกะกะบนหน้าจอ รวมทั้งแถบของ Gadget ที่หายไป โดยเราสามารถเรียก Gadget ขึ้นมา และวางไว้ตรงไหนก็ได้ของหน้าจอ โดยไม่กินพื้นที่เหมือนกับ Gadget Bar ในWindows Vista อีก แน่นอนว่าเมื่อเวอร์ชันใหม่ออกมา ก็ต้องมีความสามารถใหม่ๆ ตามมาด้วย และนี่คือทิปที่จะช่วยให้คุณใช้งาน Windows? 7 ได้ง่ายและสะดวกขึ้น พร้อมกับสามารถปรับแต่งหน้าตาอินเทอร์เฟสต่างๆ ได้ตามต้องการ

สร้างแผ่นสำหรับแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์

คงบอกว่าหากวันใดวันหนึ่ง Windows ของคุณเกิดปัญหาขึ้น จะทำให้คุณต้องยุ่งยากขนาดไหน ดังนั้นเราควรที่จะสร้างหนทางสำหรับที่จะทำให้เราสามารถแก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้น โดยการสร้างแผ่นบู๊ตยามฉุกเฉินเอาไว้ก่อน โดยหลังจากที่ติดตั้ง Windows เสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น ก็ให้เราเตรียมแผ่นดิสก์เปล่าๆเอาไว้ก่อน จากนั้นคลิกที่ Start > Maintenance > Create a System Repair Disc และใส่แผ่นดิสก์เปล่าลงไป และให้ Windows 7 สร้างแผ่นบู๊ตยามฉุกเฉินเอาไว้ก่อน ทีนี้ หาก Windows มีปัญหาในการทำงานเกิดขึ้น เราก็สามารถใช้แผ่นดิสก์นี้บู๊ต เพื่อแก้ไขปัญหา
Create_emergency_Disc

เขียนแผ่นซีดีและวิดีโอจาก ISO ไฟล์ โดยไม่ต้องลงโปรแกรมเบิร์น

คุณสมบัติอย่างหนึ่งของ Windows 7 ก็คือเราสามารถสร้างเบิร์นแผ่นดีวีดีหรือซีดีได้ โดยไม่ต้องลงโปรแกรมเขียนแผ่นดิสก์ลงไปก่อน ซึ่งช่วยให้สะดวกขึ้น หากว่ามีแผ่นโปรแกรมในรูปแบบของไฟล์ ISO อยู่ในเครื่องอยู่แล้ว ก็สามารถคลิกที่ไฟล์ ISO นั้นแล้วเลือกไดรว์ที่จะเขียน พร้อมกับใส่แผ่นดิสก์เปล่าลงไป เท่านี้ Windows ก็จะพร้อมที่จะสร้างแผ่นดิสก์จาก ISO ไฟล์ได้เลย

แก้ไขปัญหาใน Windows 7 ให้รวดเร็ว

เวลาเกิดปัญหากับการใช้งาน Windows คงไม่ต้องบอกว่ามันยุ่งยากขนาดไหน เพราะเราไม่รู้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากอะไรและจะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆนั้นอย่างไรได้บ้าง แต่สำหรับ Windows 7 แล้ว มีเครื่องมือที่จะช่วยให้เราสามารถค้นหาปัญหา และแก้ไขได้ด้วยตัวเองก่อนที่จะต้องส่งให้ผู้เชี่ยวชาญต่อไป โดยเราสามารถเข้าถึงการตรวจสอบปัญหาต่างๆ ได้จากการเลือกที่ Control Panel > Troubleshoot Problems ซึ่งจะมีวิซาร์ด ช่วยในการค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้น และวิธีการแก้ไข รวมทั้งยังเป็นการเช็คอัพระบบ และกำจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับการทำงานของคุณได้
Troubles_Shooting

ซ่อนไอคอนของ Windows Live Messenger

ถ้าคุณเป็นอีกคนหนึ่ง ที่ต้องใช้ Windows Live Messenger เป็นประจำบน Windows 7 คุณจะพบว่าเมื่อเปิด Windows Live Messenger มันจะแสดงการทำงานค้างไว้บนทาสก์บาร์ให้เกะกะ ซึ่งหากคุณไม่ชอบใจ ก็สามารถซ่อนการทำงานของ Windows Live Messenger เอาไว้ได้ โดยก่อนอื่นต้องคลิกขวา เลือกที่ไอคอนของ Windows Live Messenger จากนั้นเลือกที่ Properties แล้ว กำหนดให้แอพพลิเคชั่น ทำงานในโหมดของ Windows Vista Compatibility จากนั้นก็เปิดการทำงานของ Windows Live ขึ้นมาอีกครั้ง คราวนี้โปรแกรม Messenger จะถูกซ่อนการทำงานเอาไว้ ไม่โผล่มาให้เกะกะบนทาสก์บาร์อีก

เพิ่มพื้นที่การใช้งานให้กับเดสก์ท็อป

ใน Windows 7 เราจะพบว่าทาสก์บาร์นั้นมีขนาดที่ใหญ่มาก ซึ่งอาจจะกินพื้นที่บางส่วนของเดสก์ท็อปไปอย่างมาก รวมทั้งไอคอนต่างๆ ทำให้พื้นที่สำหรับแอพพลิเคชั่นต่างๆ นั้น วางได้ไม่เยอะ ซึ่งเราสามารถที่จะปรับขนาดของไอคอนบนเดสก์ท็อปให้เล็กลงได้ โดยคลิกขวาที่ทาสก์บาร์ จากนั้นเลือกที่ Properties > Taskbar > Use small icons เพื่อที่จะให้ไอคอนบนทาสก์บาร์เล็กลง และเราก็จะได้พื้นที่ใช้งานบนเดสก์ท็อปนั้นเพิ่มขึ้น

เพิ่ม Quick Launch ให้กับทาสก์บาร์

ด้วยการมี Launch ที่สามารถเรียกโปรแกรมต่างๆ ขึ้นมาให้แล้ว ทำให้ Quick Launch เดิมที่มาพร้อมกับ Windows ก่อนหน้านี้ ถูกตัดออกไป แต่เราก็สามารถเปิดการทำงานของ Quick Launch ขึ้นมาได้ โดยให้คลิกขวาที่ทาสก์บาร์ จากนั้นเลือกที่ Toolbars/ New Tools Bar ก็จะปรากฏหน้าต่าง Folder Selection dialog ขึ้นมา ให้พิมพ์ข้อความตามนี้ลงไป %userprofile%\AppData\Roaming\Microsoft\Internet Explorer\Quick Launch แล้วคลิกที่ OK ก็จะมีแถบของ Quick Launch ปรากฏขึ้นที่ทาสก์บาร์ แต่ตอนนี้ Quick Launch จะดูเหมือนว่าไม่ปรากฏออกมาเพราะมีแถบข้อความ และคำอธิบายเต็มไปหมด ให้คลิกขวาที่ Quick Launch แล้วเอาเช็คบ็อกซ์ตรง lock the taskbar ออก แล้วคลิกขวาอีกครั้งที่ Quick Launch และให้นำเช็คสบ็อกซ์ หน้าข้อความ show Text และ Show Titles ออกไป ที่นี้เราก็สามารถลากไอคอนชอร์ตคัทของโปรแกรมต่างๆ ที่ต้องการ นำมาวางไว้ตรง Quick Launch นี้ได้ และเมื่อเป็นที่พอใจแล้ว ก็ให้คลิกขวาที่ทาสก์บาร์ พร้อมกับล็อคทาสก์บาร์เอาไว้ให้เรียบร้อย
QuickLuanch

เปลี่ยนการทำงานให้กับเพาเวอร์สวิทช์

ปกติหน้าที่ของเพาเวอร์สวิทช์ ก็คือการเปิดเครื่อง แต่ขณะที่คอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ล่ะ จะให้มันทำหน้าที่เป็นอะไร ในWindows 7 เราสามารถกำหนดการทำงานให้กับเพาเวอร์สวิทช์ได้ โดยคลิกขวาที่ไอคอน Windows มุมล่างซ้าย แล้วเลือกที่ properties จากนั้น คลิกที่แท็บ Start Menu แล้วตรง power button action ก็กำหนดหน้าที่ที่ต้องการให้กับปุ่มเพาเวอร์ได้ ทั้งการชัตดาวน์ รีสตาร์ท หรือล็อคเครื่องก็ได้เช่นกัน
Power Button Option

ควบคุมการทำงานบน Windows ด้วยปุ่ม Windows คีย์

หากคุณต้องการปรับการแสดงผลขณะทำงานบน Windows 7 เพื่อให้สะดวกขึ้น เราสามารถใช้ปุ่ม windows คีย์ เพื่อเป็นคีย์ลัดในการจัดการการแสดงผลของหน้าต่างบน Windows ได้ ไม่ว่าจะเป็นการย่อขยาย จัดการแสดงผลให้เต็มหน้าจอ หรือย่อทั้งหมดลงมา หรือเรียกการทำงานของหน้าต่างที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น ซึ่งคีย์ลัดนี้ เราสามารถทำงานกับ Windows ได้อย่างรวดเร็วขึ้น โดยสามารถแบ่งการทำงานที่ต้องใช้ร่วมกับปุ่ม Windows คีย์ได้ดังนี้
  • ปรับขนาดของหน้าต่างให้ตรงกับความต้องการ
-?? ?เราสามารถใช้ปุ่ม Windows คีย์ ร่วมกับปุ่มลูกศร เพื่อปรับขนาดของ Windows ได้ตามต้องการ เช่น
-?? ?Win + ลูกศรขึ้น และ Win+ ลูกศรลง? เป็นการขยายขนาดของหน้าต่างให้เต็มหน้าจอ และย่อขนาดกลับลงมาเท่าเดิม
-?? ?Win + ลูกศรซ้าย และ Win + ลูกศรขวา เป็นการกำหนดตำแหน่งของการแสดงผลอยู่ทางครึ่งของหน้าจอทางซ้ายมือหรือว่าขวามือ
-?? ?Win + Shift +ลูกศรขึ้น และ Win+Shift+ ลูกศรลง? เป็นการขยายขนาดของหน้าต่างให้เต็มหน้าจอทางด้านแนวตั้ง และย่อขนาดกลับลงมาเท่าเดิม
  • แสดงผลออกโปรเจ็คเตอร์

หมดปัญหากับการที่ต้องควานหาปุ่ม เพื่อเลือกการแสดง หากต้องการต่อกับโปรเจ็คเตอร์หรือมอนิเตอร์ภายนอก เพราะเพียงแค่ใช้คีย์ Win + P ก็จะเป็นการเลือกการแสดงที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงผลเฉพาะหน้าจอหลัก การแสดงผลหน้าจอทั้งสองให้เหมือนๆกัน การแสดงแบบบนจอที่สองแบบ extend และการแสดงผลเฉพาะจอที่สองเพียงอย่างเดียว
แต่หากว่าคุณต้องการแสดงผลเฉพาะพรีเซนเทชั่น เพื่อออกไปทางโปรเจ็คเตอร์ คงไม่อยากให้การแสดงผลบนหน้าจอถูกขัดจังหวะด้วยสกรีนเซฟเวอร์ หรือว่าข้อความทาง IM ที่ส่งมาให้คุณ เราสามารถใช้ปุ่ม Win+X เพื่อกำหนดการแสดงผลเฉพาะพรีเซนเทชั่นได้ เท่านี้เวลาข้อความทาง IM ส่งเข้ามาหรือว่าสกรีนเซฟเวอร์ทำงาน ก็จะไม่มีผลต่อการแสดงผลบนหน้าจอโปรเจ็คเตอร์อีก
  • ย่อหน้าต่างให้เลือกเฉพาะที่ใช้งานปัจจุบัน

เราสามารถย่อหน้าต่างอื่นๆที่ไม่ได้ใช้งาน ให้ลงไปอยู่บนทาสก์บาร์ได้ โดยกดคีย์ Win+ Home ซึ่งหน้าต่างอื่นๆที่เราไม่ได้ใช้งานอยู่ ก็จะถูกย่อลงเองโดยอัตโนมัติ และเมื่อกด Win+Home อีกครั้ง ก็จะกลับมาแสดงผลตามปกติ
  • ทำงานแบบหลายมอนิเตอร์พร้อมๆ กัน

ถ้าคุณต่อมอนิเตอร์หลายๆตัวเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ เราสามารถเคลื่อนการทำงานจากมอนิเตอร์หนึ่งไปยังอีกมอนิเตอร์หนึ่งได้ โดยกดปุ่ม Win+shift+ปุ่มลูกศรซ้าย หรือขวา เพื่อเลื่อนการทำงานไปยังมอนิเตอร์ที่ต้องการได้
  • เรียกใช้โปรแกรมบนทาสก์บาร์ด้วยคีย์ลัด

ในทาสก์บาร์ของ Windows 7 จะมีการจัดเรียงโปรแกรมเอาไว้อยู่ และเราสามารถที่จะเรียกใช้แอพพลิเคชั่นเหล่านั้นได้โดยง่าย เพียงแค่เล็งไว้ว่าแอพพลิเคชั่นนั้นๆอยู่ตำแหน่งที่เท่าไหร่ นับจากปุ่มสตาร์ทเป็นต้นมา เราสามารถเรียกแอพพลิเคชั่นได้รวดเร็วขึ้น จากการที่กดคีย์ Win+คีย์ตัวเลข ก็จะเป็นการเรียกใช้งานแอพพลิเคชั่นลำดับตัวเลขนั้นขึ้นมาทันที
  • มองทะลุเดสก์ทอป

ใน Windows 7 มีฟังก์ชั่นบางตัวที่เรียกว่า? Gadget สำหรับบอกเวลา บอกวันที่ รวมถึงดูโน้ตต่างๆได้ ซึ่งปกติหากเราต้องการดูของต่างๆ ที่อยู่บนเดสก์ท็อป เราต้องย่อหน้าต่างลงมาทั้งหมดเสียก่อน แต่หากว่าเราต้องการแค่ดูเฉยๆโดยไม่ได้ทำอะไร Windows 7 ยอมให้คุณกดปุ่ม Win+Space เพื่อมองทะลุหน้าต่างทั้งหมดที่อยู่ ให้คุณมองเห็นเดสก์ท็อปได้
desktop-aero-peek
  • ท่องไปตามทาสก์บาร์

หากต้องการเรียกแอพพลิเคชั่นที่เปิดเอาไว้บนทาสก์บาร์อย่างรวดเร็ว เราสามารถใช้คีย์ Win+T เพื่อเลือกใช้งานโปรแกรมที่อยู่บนทาสก์บาร์ได้ โดยเลือกเป็นกลุ่มของแอพพลิเคชั่น เพื่อสามารถเลือกแอพพลิเคชั่นที่ต้องการได้สะดวกกว่า
desktop-taskbar
  • ขยายการมองเห็นให้กับ Windows

หากว่าคุณเป็นคนที่สายตาไม่ดี หรือมีปัญหากับการมองบางส่วนของภาพได้ไม่ชัดเจน Windows 7 ยอมให้เราสามารถซูมภาพเข้าไปได้ เพื่อมองบางส่วนในการแสดงผลให้ชัดเจนขึ้น โดยใช้คีย์ Win++ ก็จะเป็นการใช้งานฟังก์ชั่น magnifier ในการขยายภาพทั้งหมดบนหน้าจอขึ้นมา และหากต้องการกลับสู่การแสดงผลปกติ ก็เพียงแค่ใช้คีย์ Win + -? ก็จะเป็นการย่อให้ Windows กลับมาแสดงผลเป็นปกติ เรียบร้อยเหมือนเดิม
  • เรียกใช้งาน Gadget ได้อย่างรวดเร็ว

Gadget บน Windows 7 ให้ประโยชน์ในการทำงานของเราได้อย่างมาก เช่น ปฏิทิน หรือว่านาฬิกา แต่ในขณะทำงานอยู่ มักจะไม่สะดวกที่จะต้องย่อหน้าต่างลงไป ซึ่งหากเราต้องการเรียกใช้งาน Gadget อย่างปัจจุบันทันด่วน เราสามารถเข้าถึง Gadget ได้อย่างรวดเร็วด้วยคีย์ Win+G เพื่อให้ Gadget ขึ้นมาอยู่บนท็อปของหน้าต่างการทำงานปัจจุบันได้ทันที
desktop-gadgets

ทำงานง่ายขึ้นด้วย ALT คีย์

ใน Windows 7 สามารถใช้งานคีย์ลัด เพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียกใช้งาน Windows ได้อย่างมาก และ ALT ก็คือคีย์อเนกประสงค์อีกคีย์หนึ่ง ที่สามารถนำมาใช้งานร่วมกับคีย์ต่างๆ เพื่อให้ทำงานร่วมกับ Windows ได้สะดวกขึ้น
เรียกใช้งานเมนูบาร์บน Explorer
ด้วยฟังก์ชั่นพิเศษที่ไมโครซอฟท์เห็นว่ามันอาจจะเกะกะ ก็เลยซ่อนเมนูบาร์ใน Explorer เอาไว้ซะ ทำให้การปรับแต่งการทำงานต่างๆนั้นอาจจะไม่สะดวก แต่เราสามารถเรียกเมนูบาร์ออกมาได้ง่ายๆ โดยกดปุ่ม alt หนึ่งครั้งก็จะเป็นการแสดงผลเมนูบาร์ขึ้นมา และเมนูบาร์นี้จะถูกซ่อนเอาไว้โดยอัตโนมัติ เมื่อเราไม่ได้ใช้งาน

เพิ่มขีดความสามารถในการใช้งาน Explorer

ใน Explorer ตัวล่าสุดของ Windows 7 เราสามารถใช้คีย์ลัด ALT ร่วมกับคีย์ต่างๆ เพื่อให้ใช้งาน Explorer ได้ง่ายขึ้น เช่น
เพิ่มขีดความสามารถในการใช้งาน-Explorer7
  • ALT+UP เป็นการกระโดดไปยังโฟลเดอร์แรกสุดคือ Desktop โดยอัตโนมัติ หรือย้อนกลับไปโฟลเดอร์รูท หากว่าเราทำงานอยู่ในโฟลเดอร์ย่อยๆ ของโฟลเดอร์รูทนั้น
  • ALT + Right คือการไล่สเต็ปไปยังโฟลเดอร์ ที่เปิดขึ้นมาล่าสุด
  • ALT + LEFT คือการย้อนกลับไปทำงานยังโฟลเดอร์ก่อนหน้าโฟลเดอร์ปัจจุบัน
  • ALT +D เป็นการทำงานกับแอดเดรสบาร์ของพาธ การทำงานปัจจุบัน
  • F4 เป็นการเรียกใช้งาน drop down menu ของแอดเดรสบาร์
  • ALT+ENTER เป็นการเรียก Properties ของไฟล์ที่เคอร์เซอร์กำลังถูกเลือกอยู่ในขณะนั้น
  • CTRL+mousewheel เป็นการเปลี่ยนขนาดของไอคอนใน explorer
  • F11 เป็นการเปลี่ยนโหมดของ explorerให้ทำงานในโหมด Full Screen

เรียกใช้งานแอพพลิเคชั่นในโหมดของ Windows Compatibility เพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมเก่าได้

ปัญหาใหญ่ๆของการใช้งาน Windows 7 ก็คือการทำงานร่วมกับแอพพลิเคชั่นเดิมๆ ที่เคยใช้งานได้ใน Windows XP หรือว่า Vista ซึ่งหากเราเรียกใช้งานตรงๆ อาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นได้ Windows 7 จึงมีโหมดการทำงาน Windows Compatibility เพื่อให้นำแอพพลิเคชั่นเดิมๆที่สามารถเคยใช้งานได้ใน Windows XP หรือ Vista ให้ใช้งานได้บน Windows 7 โดยการคลิกขวาที่ไอคอนของแอพพลิเคชั่นนั้นๆ จากนั้นเลือกที่ Properties แล้วไปยังแท็บ compatibility mode และเลือก Run this program in compatibility mode for ซึ่งเราสามารถเลือกได้ว่าให้แอพพลิเคชั่นตัวนั้น ทำงานในโหมดของ Windows เวอร์ชั่นไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น Windows XP หรือว่า Windows 95 ก็ยังไหว โดยในโหมด compatibility แนะนำว่าควรที่จะเลือก disable visual themes และ desktop composition เอาไว้ด้วย และหากว่าแอพพลิเคชั่นนั้นเป็นวิดีโอเกม ก็ควรที่จะเลือก Run this program as an administrator เอาไว้ด้วย เพื่อที่ Windows 7 จะไม่ตั้งคำถามสำหรับคุณอีก
Program Compatibility

ใช้งาน Sticky Notes เพื่อเตือนความจำ

แอพพลิเคชั่นหลายๆ ตัวได้ถูกเติมเต็มเข้ามาใน Windows 7 นี้ เพื่อให้การทำงานของผู้ใช้นั้นง่ายขึ้น โดยไม่ต้องไปหาโปรแกรมอื่นๆมาติดตั้งให้ยุ่งยากอีก เช่น Sticky Notes หรือ กระดาษเตือนความจำ ซึ่งให้เราสามารถโน้ตข้อความต่างๆ วางไว้บนเดสก์ท็อปได้สะดวก โดยเราสามารถเรียกใช้งาน Sticky Notes จากการพิมพ์ notes ที่ช่อง Search ก็จะเป็นการหาแอพพลิเคชั่น Sticky Note ให้เราเองโดยอัตโนมัติ และเราสามารถเปลี่ยนสีของกระดาษโน้ตได้ โดยการคลิกขวาที่ Sticky Note แล้วเลือกสีกระดาษโน้ตตามต้องการ? และหากต้องการเพิ่มกระดาษโน้ตก็สามารถคลิกที่เครื่องหมาย + บนกระดาษโน้ต และเมื่อต้องการปิดการใช้งาน Sticky Note ก็ให้กด Alt+F4 ก็จะเป็นการปิดการทำงานลง แต่จะเก็บข้อความทั้งหมดเอาไว้ ซึ่งเมื่อเปิดการทำงานขึ้นมาอีก ข้อความเดิมที่มีอยู่ก็จะปรากฏขึ้นมาเหมือนเดิม

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การ Add Printer

การ Add Printer

Add printer

Q:ขั้นตอนการ Add Printer  มีขั้นตอนอย่างไร
A:มีขั้นตอนดังนี้
1. เลือกที่ Start / Settings / Printers and Faxes จะได้หน้าจอดังรูปภาพ
2. เลือก Add a printer จะได้รูปตามข้อ 3เป็นการเลือกเพื่อติดตั้งเครื่อง Printer ใหม่

3. เป็นหน้าจอที่แจ้งการเข้าสู่การติดตั้งเครื่อง Printer โดยการเลือก Next
4.ได้หน้าจอ Add Printer Wizard ให้เลือกติ๊กที่ Local printer attached to this computer แล้วเลือก Next
5. ได้หน้าจอที่ทำการรันข้อมูลเพื่อทำการติดตั้งโปรแกรมรอจนกว่าจะมีข้อมูลขึ้นมาดังภาพแล้วเลือก Next
6.ได้หน้าจอที่จะให้เราทำการเลือก Port ในการต่อสายเครื่อง  printer เลือก Port ตามที่เราได้ทำการต่อสายนั้นเลือก Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป
7.ได้หน้าจอ Add Printer Wizard เพื่อทำการเลือกยี่ห้อของเครื่อง Printer และรุ่นด้วยเลือกได้แล้วเลือก Next
8.ได้หน้าจอ Add Printer Wizard เพื่อใส่ชื่อเครื่อง Printer ตามที่ต้องการแล้วเลือก Next
9.จะได้หน้าจอดังภาพเพื่อเลือกให้เป็นเครื่องที่สามารถ Share เครื่องเพื่อให้เครื่องอื่นสามารถใช้งานได้ให้เลือก Share nameหรือเป็นการใช้งานเพียงเครื่องเดียวให้เลือกที่ Do not share this printer แล้วเลือก Next
10.เป็นหน้าจอที่แสดงขึ้นมาเพื่อสอบถามเราว่าต้องการที่จะทำการทดสอบการปลิ้นข้อมูลหรือไม่ ถ้าต้องต้องการทดสอบให้เลือก Yes ถ้าไม่ต้องการทดสอบให้เลือก No แล้วกด Next
11.ได้หน้าจอที่แจ้งการติดตั้ง Printer สำเร็จ แล้วกด Finish สามารถทำการปลิ้นได้ตามความต้องการค่ะ

อุปกรณ์การต่อพ่วง

อุปกรณ์การต่อพ่วง


5.4 อุปกรณ์รับเข้า (Input Device)
 
ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รับเข้าที่เป็นที่
รู้จักและนิยมใช้ได้แก่

 
แป้นพิมพ์ ( Keyboard )  เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ทุกเครื่องจะต้องมีการรับข้อมูลคือ ผู้ใช้กดแป้นพิมพ์แล้วจึงแปลงรหัสเข้าสู่การประมวลผลต่อไป




 
เมาส์ (Mouse)  เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานเพิ่มมากขึ้น เมาส์จะมีรูปร่างพอเหมาะกับมือ และมีลูกกลิ้งอยู่ข้างล่าง โดยระบบคอมพิวเตอร์จะทำงานสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของลูกกลิ้ง และรับคำสั่งจากการกดปุ่มเมาส์

 


 

 
สแกนเนอร์ (Scanner)  จะทำงานโดยการอ่านรูปภาพ แล้วแปรเปลี่ยนให้เป็นข้อมูลที่คอมพิวเตอร์สามารถที่จะเข้าใจได้

 



 
5.5 อุปกรณ์ส่งออก (Output Device)
 
ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลข้อมูล อุปกรณ์ส่งออกที่นิยมใช้ในปัจจุบัน   ได้แก่

 
จอภาพ (Monitor)  เป็นอุปกรณ์ส่งออกที่ผู้ใช้คุ้นเคยมากที่สุด ใช้แสดงผลในรูปของข้อความและรูปภาพ เริ่มแรกนั้นมีการนำเอาโทรทัศน์มาเป็นจอภาพสำหรับการแสดงผล แต่ผลที่ได้ไม่เป็นที่น่าพอใจนัก จึงมีการผลิตจอขั้นมาจอภาพนั้นมีหลายลักษณะซึ่งลักษณะที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่คุ้นเคยและพบเห็นบ่อย ๆ ได้แก่
 


 
           จอภาพแบบซีอาร์ที ( Cathode ray tube : CRT )
 
จะมีลักษณะจอโค้งนูน ลักษณะการแสดงผลนั้นเริ่มแรกแสดงผลได้เฉพาะเป็นตัวอักษรเท่านั้น แต่จะมีความละเอียดสูงเรียกว่า จอภาพแบบสีเดียว (Monochrome Display Adapter :MDA ) ต่อมามีการพัฒนาจอสี (Color Graphic Adapter : CGA) ซึ่งสามารถแสดงภาพสีและภาพกราฟิกได้ แต่จะแสดงตัวอักษรและตัวเลขได้ไม่ดีเท่าจอแบบสีเดียว จอรุ่นต่อมาที่สามารถแสดงภาพกราฟิกได้ละเอียด และมีจำนวนสีมากขึ้นเรียกว่า จอสีภาพละเอียด ( Enhance Graphic Adapter: EGA )
 



 
ส่วนจอสีภาพละเอียดพิเศษ (Video Graphic Array: VGA) เป็นจอภาพที่มีความละเอียดสูงมาก ปัจจุบันจอภาพที่ใช้สำหรับงานคอมพิวเตอร์ในด้านการออกแบบจะใช้จอภาพ เอ็กซ์วีจีเอ (eXtra Video Graphic Array : XVGA)  
         จอภาพแบบแอลซีดี ( Liquid Crystal Display: LCD )
 
เดิมเป็นจอภาพที่ใช้กับเครื่องคิดเลขและนาฬิกา แต่ปัจจุบันจะพบได้ในเครื่อง PC แบบพกพา เช่น โน้ตบุ้คหรือแล็ปท็อป จอภาพแบบนี้จะมีลักษณะแบนเรียบและบาง และได้พัฒนาให้การแสดงผลมีความละเอียดและได้ภาพที่ชัดเจน
 

 
เครื่องพิมพ์ (Printers)  ถือเป็นอุปกรณ์แสดงผลที่สำคัญรองลงมาจากจอภาพ เพราะจะแสดงผลลัพธ์ลงบนกระดาษทำให้สะดวกต่อการใช้งาน ( อุปกรณ์ที่สามารถเก็บผลที่แสดงออกมาได้ เราเรียกว่า Hard copy ส่วนจอภาพจะเป็น Soft copy ) ลักษณะของเครื่องพิมพ์ที่ใช้กันในปัจจุบันได้แก่









        เครื่องพิมพ์แบบจุด (Dot-Matrix Printers)
 
            คุณภาพของงานพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ ชนิดนี้จะขึ้นอยู่กับจำนวนจุดของเครื่อง เพราะผลที่ได้จากการพิมพ์จะมีลักษณะเป็นจุด เครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะมีราคาถูกเหมาะสำหรับงานพิมพ์ที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนัก เครื่องพิมพ์แบบจุดนี้จัดเป็นเครื่องพิมพ์แบบกระทบ
( impact printer ) คือ เวลาพิมพ์หัวพิมพ์จะกระทบกับผ้าหมึก
 



 













        เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก (Inkjet Printer)
 
           หลักการทำงานคือการฉีดหมึกลงบนกระดาษเป็นจุดเล็ก ๆ เพื่อให้ได้รูปแบบงานพิมพ์ที่ต้องการ งานพิมพ์ที่ได้จะมีความละเอียดกว่าเครื่องพิมพ์แบบจุดมาก เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึกนี้จัดเป็นเครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ ( Non - impact printer ) เพราะเครื่องพิมพ์แบบนี้ทำงานโดยไม่ต้องใช้แถบผ้าหมึก
 


 
        เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer)
 
            หลักการทำงานของเครื่องพิมพ์แบบนี้ จะใช้หลักการเดียวกันกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือใช้แสงเลเซอร์ในการพิมพ์เรียกว่า LED ( Light-Emit-ting Diode) และ LCS (Liquid Crystal Shutter) ซึ่งจะพิมพ์งานออกทีละหน้า เราเรียกงานพิมพ์แบบนี้ว่า ppm ( Page per minute ) ทั้งงานพิมพ์ที่ได้ก็มีคุณภาพสูงและคมชัดมาก เวลาพิมพ์ก็ไม่ส่งเสียงดังรบกวน เครื่องพิมพ์แบบนี้จัดเป็นเครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ ( Non - impact printer ) เช่นกัน
 



 
        พล็อตเตอร์ (Plotter)
 
              เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มักจะใช้ในงานเขียนแบบ หรืองานด้านกราฟิก เช่นพิมพ์เขียว การพิมพ์แผนผังขนาดใหญ่ แผนที่ หัวพิมพ์จะทำงานเป็นเหมือนปลายปากกา ลักษณะงานพิมพ์จะเป็นงานที่ซับซ้อนและใช้กระดาษแผ่นใหญ่ ๆ ในการพิมพ์


 
5.6 อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ
 
           โมเด็ม ( Modem) ย่อมาจาก Modulator-DEModulator ทำหน้าที่แปลงสัญญาณข้อมูล
ประโยชน์ของโมเด็มเพื่อใช้ในการสื่อสารระยะไกลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ต้องอาศัยเครือข่ายโทรศัพท์ในการสื่อสารด้วย อัตราความเร็วในการส่งข้อมูลของโมเด็มมีหน่วยเป็นบิตต่อวินาที โมเด็มสามารถรับและส่งได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความ ภาพและเสียง ลักษณะของโมเด็มมี 2 แบบคือ

            
แบบ Internal คือ เป็นแผงวงจรเสียบเข้าภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
 

                        แบบ External คือ เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อภายนอกกับเครื่องคอมพิวเตอร์ แบบนี้จะมีราคาสูงกว่าแบบ Internal